ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2559

http://www.thaigov.go.th

 

                  วันนี้ (4 ตุลาคม 2559) เวลา 09.00 . ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

                 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   พร้อมด้วย พันเอก อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ และพันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี   ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

 




กฎหมาย

 

                    1.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพ                                          ทำลายล้างสูง พ.ศ. ....

                    2.        เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ

                              สิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

                    3.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                               การยกเว้นรัษฎากร (การดำเนินการเพื่อรองรับการโอนเงินจากกองทุนสำรอง

                                        เลี้ยงชีพไปออมต่อเนื่องในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)

                    5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                                        สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....

                    6.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี จุฬาลงกรณ์                                       มหาวิทยาลัย  พ.ศ. ....

                    7.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ พ.ศ. ....

                    8.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าว

                                        มาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ

                    9.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือ                                             จำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า พ.ศ. ....

                    10.      เรื่อง     ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของ                                      สภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ฉบับ

                   11.      เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการ                                            ทรัพยากรแร่แห่งชาติ พ.ศ. ....

                   12.      เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล                                             รัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....

                    13.      เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน

                                        พ.ศ. ....

                    14.      เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ....

 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

                    15.      เรื่อง     ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ

                                        พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา

                                        ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

                    16.      เรื่อง     แนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2559/60 เพิ่มเติม

                    17.      เรื่อง     โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

                    18.      เรื่อง     โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 ของการประปานครหลวง

                    19.      เรื่อง     (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1

                                        พ.ศ. 2560-2564

                    20.      เรื่อง     แนวทางการลดอุบัติเหตุทางถนนด้วยใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์

                    21.      เรื่อง     (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564)

                    22.      เรื่อง     (ร่าง) ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2559 - 2563 และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ

                                        ปี 2559 - 2563

                    23.      เรื่อง     การปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

                    24.      เรื่อง     การบริหารงานเพิ่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน

                                        แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

                   




ต่างประเทศ

 

                   25.      เรื่อง     รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – ลาว

                   26.      เรื่อง     ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทยกับ                                                สาธารณรัฐมัลดีฟส์   ครั้งที่ 2

                    27.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร                                         ไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมเวียดนามว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์                                      เทคโนโลยีและนวัตกรรม

                   28.      เรื่อง     ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่ง                                             ราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่ง                                                 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปี ค.ศ. 2016-2018

                   29.      เรื่อง     เอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2

                   30.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในสาขา                                            ทรัพยากรน้ำระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                                        แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคม

                                        แห่งสาธารณรัฐเกาหลี

                    31.      เรื่อง     การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง                                                    กระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการ

                              แห่งสาธารณรัฐเกาหลี

 




แต่งตั้ง

 

                    32.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์)

                    33.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    34.      เรื่อง     การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูตระดับสูง) และ                                     ตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) (กระทรวงการต่างประเทศ)

                    35.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนา                                       สังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

                    36.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                            

                              (กระทรวงศึกษาธิการ)

                    37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงอุตสาหกรรม)

                    38.      เรื่อง     ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน

                    39.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                    40.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

 

*******************

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


 




กฎหมาย

 

1. ร่างพระราชบัญญัติการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ                     สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   1. กำหนดนิยามของคำสำคัญ ได้แก่ สินค้า เทคโนโลยี สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง สินค้าที่ใช้ได้สองทาง สินค้าที่เข้าข่ายเป็นสินค้าที่ใช้ได้สองทาง เหตุอันควรสงสัย และกิจกรรมที่ควบคุม เป็นต้น

                   2. กำหนดให้มีคณะกรรมการการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เรียกโดยย่อว่า “กอทส.” โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งอีก 15 คน มีอำนาจหน้าที่กำหนดหรือแก้ไขนโยบายมาตรการและแนวทางเกี่ยวกับการบริหารการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมทั้งกำกับดูแลประสานงานสั่งการและติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด

                   3. กำหนดมาตรการในการดำเนินกิจกรรมที่ควบคุมซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ดังนี้

                             3.1 ในกรณีนี้จำเป็นหรือสมควรเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศในการดำเนินกิจกรรมที่ควบคุมซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดมาตรการซึ่งมาตรการใด เช่น กำหนดให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงใดเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต กำหนดให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำล้ายล้างสูงใดเป็นสินค้าที่ต้องรับรองว่าไม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ขยายของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

                             3.2 ให้อธิบดีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมาย มีอำนาจกำหนดรายการในบัญชีสินค้าที่ใช้ได้สองทางบัญชีสินค้าที่เข้าข่ายเป็นสินค้าที่ใช้ได้สองทาง รายการในบัญชีอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรการภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้

                             3.3 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาต การรับรอง พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ใบรับรอง รวมถึงการกำหนดให้นำค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากใบอนุญาต ใบรับรอง ไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัตินี้ โดยกำหนดให้นำไปใช้ได้เฉพาะในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัตินี้  และการพัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

                             3.4 กำหนดให้บทกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรและอำนาจพนักงานศุลกากร ในส่วนที่ว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร การตรวจค้น การยึดและริบของ หรือการจับกุมผู้กระทำความผิด การสำแดงเท็จ และการฟ้องร้อง ให้ใช้บังคับแก่การดำเนินกิจกรรมที่ควบคุมซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีกรมศุลกากรหรือคณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมีอำนาจเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับกับการเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม

                   4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์

                   5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อตรวจค้น ตรวจสอบและควบคุมหรือเพื่อตรวจสอบระบบงานควบคุมภายในของนิติบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งมีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ มาเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา ตลอดจนยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

                   6. กำหนดบทกำหนดโทษกรณีที่มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้

                   7. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการใด ๆ ที่ได้ปฏิบัติอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

2.  เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน             (ฉบับที่..) พ.ศ ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่..) พ.ศ .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม

                             1.1 คำว่า “เครื่องบังคับเสียงให้เบาผิดปกติ” เพื่อควบคุมมิให้นำเครื่องบังคับเสียงที่เบาผิดปกติไปใช้กับอาวุธปืนก่ออาชญากรรม

                             1.2 คำว่า “เครื่องกระสุนปืน” ให้หมายความรวมถึงตลับลูกดอกไฟฟ้าและลูกดอกไฟฟ้า

                             1.3 คำว่า “ดอกไม้เพลิง” ให้หมายรวมถึงบั้งไฟและตะไล

                             1.4 คำว่า “สิ่งเทียมอาวุธ” ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มีลักษณะคล้ายอาวุธปืน

                             1.5 คำว่า “มี” ให้ครอบคลุมถึงดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

                   2. เพิ่มบทนิยามคำว่า “หน่วยงานอื่นของรัฐ” เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน่วยงานของรัฐทุกประเภทที่มีความจำเป็นต้องมีและใช้อาวุธปืนได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ด้วย

                   3. กำหนดกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีอำนาจออกกฎกระทรวง และประกาศกระทรวงในบางเรื่อง เช่น ประกาศกำหนดควบคุมพื้นที่ ระยะเวลาการใช้หรือจัดให้มีการใช้ดอกไม้เพลิง การกำหนดให้วัตถุใดเป็นเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง เป็นต้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนถึงผู้มีอำนาจในการออกอนุบัญญัติ

                   4. กำหนดให้นายทะเบียนท้องที่ หรือผู้ที่นายทะเบียนท้องที่มอบหมายเป็นผู้ทำเครื่องหมายประจำปืนและจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับปืน เพื่อรองรับอำนาจในการจัดเก็บหัวกระสุน

                   5. กำหนดหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุญาตพิเศษให้นิติบุคคล เพื่อให้ครอบคลุมถึงกรณีของ            นิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในการขนส่งเงินจำนวนมากหรือทรัพย์สินมีค่า เช่น กรณีรถขนเงิน เป็นต้น

                   6. แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและมีความชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                   7. แก้ไขเพิ่มเติมผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว โดยให้อธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้ออกใบอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร

                   8. กำหนดมาตรการควบคุมดอกไม้เพลิงชนิดร้ายแรง เช่น บั้งไฟ ตะไลที่มีน้ำหนักดินปืนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ให้ต้องขออนุญาตซื้อ มี ใช้ จัดให้มีการใช้ รวมทั้ง ขนย้าย และให้มีการออกประกาศกำหนดระยะเวลาและพื้นที่อนุญาตในการใช้ดอกไม้เพลิง

                   9. กำหนดอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน เจ้าพนักงาน และเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในสถานที่ทำการ โรงงาน หรือสถานที่เก็บของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้า มี หรือจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนสำหรับการค้า และมีอำนาจในการตรวจค้น อายัด หรือยัดอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนอันเกี่ยวกับการกระทำความผิด

                   10. กำหนดอำนาจนายทะเบียนในการสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตนำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนมาตรวจสอบ โดยให้นายทะเบียนท้องที่เป็นผู้เก็บรักษาและตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง

                   11. กำหนดมาตรการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนชนิดร้ายแรงตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้ต้องขออนุญาตทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง นำเข้า หรือค้าจากนายทะเบียนท้องที่ตามวิธีการที่ระบุในกฎกระทรวง

                   12. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพาสิ่งเทียมอาวุธปืนติดตัวเพื่อเป็นการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนภายหลังที่ได้รับอนุญาตแล้ว เพื่อป้องกันการนำสิ่งเทียมอาวุธปืนไปใช้ก่อเหตุ

                   13. แก้ไขบทกำหนดโทษและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ

 

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ  และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป 

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1.       แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “วิสาหกิจ” และ “องค์การเอกชน” ให้ครอบคุลมถึงภาค

การเกษตร

2.       แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้ใช้เกณฑ์จำนวนรายได้เป็น

เกณฑ์ในการพิจารณาด้วย

3.       แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

โดยเพิ่มเติมจำนวนคณะกรรมการจากเดิม 25 คน เป็น 29 คน ดังนี้

                             3.1 เพิ่มเติมรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ เพิ่มเติมปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ

                             3.2 ปรับลดจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากไม่เกินสิบสองคนเหลือไม่เกินสิบคน

                             3.3 ลดจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่แต่งตั้งจากผู้แทนองค์การเอกชนจากเดิมอย่างน้อยหกคน เป็นอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง

                             3.4 ลดจำนวนผู้แทนองค์การเอกชนที่เป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาค  จากเดิมอย่างน้อยสามคน  เป็นอย่างน้อยสองคน

                   4. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดให้มีงบประมาณแบบบูรณาการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นไปในทิศทางและนโยบายเดียวกัน

                   5. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการโอนย้ายมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนคณะกรรมการ ดังนี้

                             5.1 ประธานกรรมการ มาจากคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

                             5.2 แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการโดยตำแหน่ง โดยตัดปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้แทนกระทรวงการคลังออก  เปลี่ยนผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปลี่ยนผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปลี่ยนผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกรลงทุนและเพิ่มเติมผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                             5.3 เพิ่มเติมคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  โดยต้องไม่เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำร่วมอยู่ด้วยอย่างน้อยสี่คนเนื่องจากให้ครอบคลุมถึงผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ และลดกรรมการที่มาจากภาครัฐลง

 

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การดำเนินการเพื่อรองรับการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปออมต่อเนื่องในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การดำเนินการเพื่อรองรับการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปออมต่อเนื่องในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   1. กำหนดให้เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้มีเงินได้ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยหน่วยลงทุนดังกล่าวได้จากการโอนหรือเกี่ยวเนื่องจากการโอนมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้ขายหน่วยลงทุนนั้นเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์และมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

                   2. ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับกำหนดเวลาการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เริ่มขึ้นในปี 2559

 

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 โดยปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ดังนี้

 

การแบ่งส่วนราชการเดิม

การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง

สลค. ประกอบด้วย

   1. สำนักบริหารกลาง

   2. กองการประชุมคณะรัฐมนตรี

   3. สำนักนิติธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ จำแนกประเภท และจัดลำดับการประกาศเรื่องต่าง ๆ ในราชกิจจานุเบกษา จัดทำข้อมูลราชกิจจานุเบกษา โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อบริการประชาชนในเรื่องกฎหมาย และเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

   4. สำนักบริหารงานสารสนเทศ

   5. สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ

   6. สำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี

   7. สำนักส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี

   8. สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

 

 

 

 

    9. กลุ่มตรวจสอบภายใน

   10. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

   11. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

สลค. ประกอบด้วย   

   1. สำนักงานเลขาธิการ

   2. กองการประชุมคณะรัฐมนตรี

   3. กองนิติธรรม

 

 

 

 

 

4. กองบริหารงานสารสนเทศ

   5. กองพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ

   6. กองวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี

   7. กองส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี

  8. กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ จำแนกประเภท และจัดลำดับการประกาศเรื่องต่าง ๆ ในราชกิจจานุเบกษา จัดทำข้อมูลราชกิจจานุเบกษา โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อบริการประชาชนในเรื่องกฎหมายและเรื่องสำคัญ

ต่าง ๆ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

    9. กลุ่มตรวจสอบภายใน

   10. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

   11. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

   12. กลุ่มงานดูแลและพัฒนาศักยภาพนักเรียนทุนพระราชทานในโครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับงานนักเรียนทุนพระราชทานโครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

   13. กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่หลักในการสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย              พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก              100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   กำหนดลักษณะเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

 

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภท              โรงบรรจุ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    1. กำหนดให้การออกแบบ การสร้าง การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

                    2. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องเป็นผู้ค้าน้ำมัน หรือเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่าย                ก๊าซ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ในการควบคุมดูแลถังก๊าซหุงต้มของผู้ประกอบกิจการที่เป็นผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ควบคุมดูแล ทำการทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และซ่อมแซมหรือทำลายถังก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยโดยไม่ชักช้า

                    3. กำหนดวิธีการในกรณีที่มีการยกเลิกการเป็นตัวแทนค้าต่างจำหน่ายก๊าซ หลักเกณฑ์ในการเก็บถังก๊าซหุงต้มในโรงบรรจุ

                    4. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมมีหน้าที่ควบคุมดูแลรถยนต์ที่ใช้บรรทุกถังก๊าซหุงต้มที่เข้ามาภายในบริเวณโรงบรรจุ และกำหนดวิธีการวัดระยะห่างของถังเก็บ และจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

                    5. กำหนดลักษณะของแผนผังโดยสังเขป แผนผังบริเวณ แบบก่อสร้างถังเก็บ และจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว แบบก่อสร้างอาคาร แบบก่อสร้างท่อหรือรางระบายน้ำ แบบก่อสร้างกำแพงกันไฟ และรายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรง รวมถึงกำหนดมาตราส่วนและระยะคลาดเคลื่อนของแผนผังบริเวณและแบบก่อสร้าง

                    6. กำหนดที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัยของสถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประเภทโรงบรรจุ โดยต้องตั้งอยู่ที่ห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร ตั้งอยู่ห่างจากสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่น้อยกว่า 50 เมตร และตั้งอยู่ห่างจากเขตสถานทูต สถานกงสุล สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงมหรสพ ศาสนสถาน โบราณสถาน และสนามกีฬา ไม่น้อยกว่า 200 เมตร รวมทั้งกำหนดระยะปลอดภัยภายนอกของโรงบรรจุ และลักษณะและระยะปลอดภัยของอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว และอาคารเก็บภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวของโรงบรรจุ

                    7. กำหนดลักษณะและระยะปลอดภัยการตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว การวางท่อระบบท่อก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว รวมถึงกำหนดลักษณะของหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวและสายหัวจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตลอดจนวิธีการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวใน                   ถังก๊าซหุงต้ม

                    8. กำหนดวิธีการป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยต้องมีระบบท่อน้ำดับเพลิง ระบบป้องกันภัยแบบ             หัวกระจ่ายน้ำดับเพลิง (Water sprinklers) และเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

 

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 รวม 3 ฉบับ

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกระทรวงเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชกำหนดการนำคน             ต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559  รวม 3 ฉบับ  ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

                   1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ                พ.ศ. ....

                   2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ....

                   3. ร่างกฎกระทรวงการขอใบอนุญาต  การออกใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ....

 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ 

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ                พ.ศ. ....  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่ายื่นคำขอ  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต  ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต เป็นต้น

                   2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ....  มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด  เช่น  กำหนดให้การยื่นคำร้องหรือการแจ้งให้กระทำ ณ หน่วยงานในสังกัดกรมการจัดหางาน ณ ท้องที่อันเป็นภูมิลำเนาของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างอาจจะกระทำด้วยตนเอง หรือให้ผู้รับอนุญาต ซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำแทนโดยให้ยื่นสัญญาการนำคนต่างด้าวฯ ประกอบการพิจารณาด้วย และให้พิจารณาการจัดสรรจำนวนการจ้างคนต่างด้าวโดยคำนึงถึงการมีงานทำของคนไทย

                   3. ร่างกฎกระทรวงการขอใบอนุญาต  การออกใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการยื่นคำขอให้ยื่นที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด การยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน  และให้ผู้ขออนุญาตต้องวางหลักประกันไว้กับอธิบดีกรมการจัดหางาน เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ชนิดของหลักประกันเป็นเงินสดพันธบัตรของรัฐบาลไทย หรือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร เป็นจำนวน 5,000,000 บาท  กรณีวางหลักประกันเป็นสัญญาค้ำประกันของธนาคารให้ใช้แบบที่กำหนด

         

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตให้ศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    1. กำหนดนิยามคำว่า “ใบอนุญาต” หมายความว่า ในอนุญาตให้ศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุม หรือใบอนุญาตให้จำหน่าย ส่งออก หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า แล้วแต่กรณี

                    2. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกำหนดพร้อมเอกสารและหลักฐาน

                    3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุม การยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้จำหน่าย ส่งออก หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า การมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นคำขอแทน การขอต่ออายุใบอนุญาต การขอใบแทนใบอนุญาตที่สูญหายหรือถูกทำลาย และสถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต

                    4. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการตรวจคำขอ เอกสาร และหลักฐานของนายทะเบียน และการพิจารณาอนุญาตของผู้อนุญาต

                    5. กำหนดให้ผู้ที่ได้ใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

                    6. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับผู้ที่ดำเนินการศึกษาวิจัยสมุนไพรควบคุมจำหน่าย ส่งออก หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้าอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบ              วันนับแต่ว่าที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

 

10.  เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ รวม 3 ฉบับ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์                รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอดังนี้ 1) ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ค่าทำศพกรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ค่าช่วยเหลือบุตรและค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร

2) ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ค่าทำศพกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน 3) ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร

ทั้งนี้ ให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฏหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

 

          สาระสำคัญของร่างประกาศทั้ง 3 ฉบับ มีดังนี้

          1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ค่าทำศพกรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ค่าช่วยเหลือบุตรและค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร เป็นการยกเลิกประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ค่าทำศพกรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร

          2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ค่าทำศพกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

          2.1 กำหนดนิยามคำว่า "การรักษาพยาบาล" "ค่ารักษาพยาบาล" "คู่สมรส" "บุตร"

"สถานพยาบาล" "สถานพยาบาลของทางราชการ" "สถานพยาบาลของเอกชน" "แพทย์" "ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต" " ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน" และ "ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง"

1.2     กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายและการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือ

เจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานให้แก่ลูกจ้าง คู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อการตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้าง

1.3     กำหนดหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง คู่สมรสหรือบุตร กรณีเป็น

ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

          2.4 กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าทำศพ และลำดับของผู้มีสิทธิ์ได้รับค่าทำศพ

          3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร

          3.1 กำหนดนิยามคำว่า “บุตร” “ค่าช่วยเหลือบุตร” “ค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร”

“เงินบำรุงการศึกษา” “เงินค่าเล่าเรียน” “ปีการศึกษา” “สถานศึกษาของทางราชการ” และ “สถานศึกษาของเอกชน”

1.2   กำหนดอัตราค่าช่วยเหลือบุตรของลูกจ้าง หลักเกณฑ์การใช้สิทธิ์เบิกค่าช่วยเหลือบุตร

และจำนวนบุตรที่มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือบุตร

1.3   กำหนดหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราการจ่ายค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตรให้แก่

ลูกจ้าง จำนวนบุตรที่มีสิทธิ์ได้รับค่าช่วยเหลือการศึกษา อายุขั้นต่ำ และขั้นสูงของบุตรที่มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือการศึกษา

 

11.  เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรแร่แห่งชาติ พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรแร่แห่งชาติ พ.ศ. .... และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

          2. มอบหมายให้ ทส. อก. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประชุมหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับการนำหลักการการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรแร่แห่งชาติ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ ไปกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติแร่    พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของร่างระเบียบ

          1. กำหนดบทนิยามคำว่า "คณะกรรมการ" "การบริหารจัดการ" "ทรัพยากรแร่" "หน่วยงานของรัฐ" "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" และ "องค์กรเอกชน"

          2. กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการทรัพยากรแร่แห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ข้าราชการในสังกัดกรมทรัพยากรธรณีหรือกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

          3. กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนด และในระหว่างที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามที่กำหนดทำหน้าที่ไปพลางก่อน

          4. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ อาทิ เสนอยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ เสนอแนะแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีที่ปรากฏว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตามกฎหมายหรือหน่วยงานของรัฐไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ และเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภายใต้กลไกประชารัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศ เป็นต้น

          5. กำหนดให้ ทส. และ อก. ร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองแร่ของประเทศ รวมถึงการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละพื้นที่

          6. กำหนดให้คณะกรรมการต้องคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายของหน่วยงานของรัฐ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และหลักการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศแล้ว ให้กรมทรัพยากรธรณีแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ

          7. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ แล้วแจ้งคณะรัฐมนตรีทราบ

          8. กำหนดให้กรมทรัพยากรธรณี (ทส.) ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ ศึกษาและวิเคราะห์แนวโน้มและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา

          9. กำหนดให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ไปเบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากประมาณของกรมทรัพยากรธรณี

 

12. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)  พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   กค. เสนอว่า

                   1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2557 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการเสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและมาตรการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตามการเสนอความเห็นของ คนร. เกี่ยวกับโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในปัจจุบันมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนปกติตามพันธกิจขององค์กรที่มีวงเงินลงทุนสูง ประกอบกับการพิจารณาโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีกระบวนการและหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กค. เป็นต้น นอกจากนี้ การประชุม คนร. จะมีความถี่น้อยกว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี ทำให้มีโครงการลงทุนต้องรอการพิจารณาเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดความล่าช้าและไม่ทันการณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและทันเวลา รวมทั้งเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และลดเรื่องที่มีลักษณะเป็นการบริหารงานประจำของรัฐวิสาหกิจที่ต้องเสนอ คนร. เพื่อพิจารณา ซึ่งในคราวประชุม คนร. ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 ได้มีมติเห็นชอบขอบเขตการเสนอความเห็นของ คนร. เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะในเรื่อง/แผนต่าง ๆ ที่มีผลต่อนโยบายหรือทิศทางของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม/รายสาขา และให้การพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คนร. โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ คนร. ดำเนินการแก้ไขระเบียบฯ โดยยกเลิกข้อ 10 (5) และข้อ 11

                   2. กค. จึงได้ดำเนินการยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อยกเลิกอำนาจหน้าที่ของ คนร. ตามมติ คนร. ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 อันจะทำให้การบริหารจัดการและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจเกิดความคล่องตัว ไม่ล่าช้าและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                   สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

                   ยกเลิกความในข้อ 10 (5) และข้อ 11 ที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คนร.

 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับปัจจุบัน

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

   ข้อ 10 (5) ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในโครงการที่เกี่ยวกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

ยกเลิก

   ข้อ 11 ในการพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็นตามข้อ 10 (5) ต่อคณะรัฐมนตรี หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินลงทุนสูง และส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างของรัฐวิสาหกิจ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้น นำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็น ทั้งนี้ การพิจารณาโครงการดังกล่าวต้องมีความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบการพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

   ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการขนาดใหญ่ตามวรรคหนึ่ง  และประกาศนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ยกเลิก

 

13.  เรื่อง  ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ              ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ตรวจพิจารณาแล้ว  และให้ดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ

1.       กำหนดให้ในแต่ละเขตสุภาพเพื่อประชาชน ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนคณะ

หนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “กขป.” เพื่อรับผิดชอบในการดูแลประสานงาน  และสนับสนุนให้มีการบูรณาการเกี่ยวกับระบบสุขภาพในพื้นที่

2.       กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)  เขตพื้นที่ 1 ถึงเขต

พื้นที่ 12 และองค์ประกอบของ กขป. เขตพื้นที่ 13 ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะประกอบด้วยกรรมการผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและวิชาชีพ  และกรรมการภาคเอกชนและภาคประชาสังคม  ซึ่งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้ง โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่เลขานุการของ กขป. เขตพื้นที่ 1 ถึงเขตพื้นที่ 12 และให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่เลขานุการของ กขป. เขตพื้นที่ 13 โดยให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่เลขานุการร่วมในแต่ละเขตพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ กขป.

3.       กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการ

สรรหา คัดเลือก หรือดำเนินการใด  เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการใน กขป. ตามระเบียบนี้ โดยกำหนดแนวทางเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการในแต่ละประเภท

4.       กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ กขป. ซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและวิชาชีพ และ

กรรมการภาคเอกชนและภาคประชาสังคม

5.       กำหนดให้ กขป. มีอำนาจหน้าที่กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์ ในการดำเนินการ

และพัฒนาเกี่ยวกับระบบสุขภาพในเขตพื้นที่ ดำเนินการหรือประสานงานให้เกิดการขับเคลื่อนตามเป้าหมาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์  ตลอดจนเสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ต่อหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้อง

6.       กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความ

เหมาะสมและจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ทั้งนี้ การรับเงิน การจ่ายเงิน           และการเก็บรักษาเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนด 

7.       กำหนดให้ค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง  หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของ กขป. ให้เป็นไปตามที่

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนด  สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ กขป. ให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนด

8.       กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กำหนดแนวทางและวิธีการในการติดตามและ

ประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน  โดยจัดให้มีการติดตามและประเมินผลอย่างน้อยทุกสองปี             และรายงานผลการประเมินต่อคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณะให้ทราบโดยทั่วกัน

 

14. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก              พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย รวมทั้งให้รับไปพิจารณาความซ้ำซ้อนกับร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารจัดการ การพัฒนาพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกรวม 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์บางประการภายใต้เขตพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

15. เรื่อง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

          1. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็น "พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย"

          2. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็น "บิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย"

และนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กษ. เสนอรายงานของกรมการข้าวว่า

          1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มปฏิรูปแนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวที่ส่งผลและประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าข้าวของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการโดยการยกเลิกกรมนาแล้วจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการ เพื่อสนับสนุนด้านการผลิต ปรับปรุงคุณภาพและการค้าข้าว รวมทั้งยกเลิกระบบศักดินา สร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวนา ขยายพื้นที่ปลูกข้าวด้วยการวางรากฐานระบบชลประทานสมัยใหม่ รวมทั้งนำเครื่องจักรไถนามาทดลอง การเลิกทาสส่งผลให้เพิ่มแรงงานในการผลิตข้าว การนำข้าวพันธุ์ดีจากต่างประเทศมาทดลองปลูก มีการจัดประกวดพันธุ์ข้าว สนับสนุนการค้าข้าวโดยริเริ่มระบบขนส่งทางรถไฟและกิจการไปรษณีย์โทรเลข เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งลำเลียงผลผลิตข้าว การวางรากฐานงานวิจัยและพัฒนาข้าวไทยโดยการจัดตั้งโรงเรียนเกษตราธิการเพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการในกรม กองต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ รวมทั้ง พระราชทานทุนเล่าเรียนให้ไปศึกษาด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ยังต่างประเทศ

          2. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริและทรงดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาข้าว ในโครงการส่วนพระองค์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทรงสนับสนุนงานวิจัยข้าว ทรงมุ่งมั่นทุ่มเทกำลังพระวรกายในการปรับใช้ผลการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แก่พสกนิกรที่ประกอบอาชีพทำนาจนเป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณนานัปการ เช่น การฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจและความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ทรงคิดวิธีเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำนาขั้นบันได โครงการฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาความแห้งแล้ง ทั้งการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เรียกว่า "แกล้งดิน" การกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีสู่เกษตรกรที่เรียกว่า "พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน" เป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรวิจัยและพัฒนาข้าว ทั้งในและต่างประเทศให้แก่มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ และพระราชทานทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านข้าวผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กรมการข้าวเป็นประจำทุกปี

 

16. เรื่อง  แนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2559/60 เพิ่มเติม

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ  ดังนี้

1.       อนุมัติให้เลื่อนระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 โครงการ คือ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ

เพาะปลูกมันสำปะหลังในระบบน้ำหยด ปี 2559/60  (2) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปมันสำปะหลัง ปี 2559/60  และ (3) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกาตรกรปี 2559/60 จากเดิมที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเริ่มดำเนินโครงการ                วันที่ 1 ธันวาคม 2559   และสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ 31 ธันวาคม 2562 เป็นเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป 

2.       อนุมัติโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง โดยให้              

ธ.ก.ส. ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป

3.       รับทราบโครงการให้สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

สาระสำคัญของเรื่อง 

2.       โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินและลดดอกเบี้ยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

                             วัตถุประสงค์ 

1)      เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินและลดต้นทุนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.

2)      เพื่อให้เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. มีเงินทุนที่ได้รับการพักชำระหนี้ต้นเงินกู้และส่วนที่เหลือ

จากการลดดอกเบี้ยไปฟื้นฟูการประกอบอาชีพและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของครัวเรือนให้ดีขึ้นระหว่างการพักชำระหนี้  และมีเงินเหลือไว้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน

3)      เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและส่งเสริมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

                             เป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้วัตถุประสงค์เพื่อการผลิตมันสำปะหลังกับ ธ.ก.ส.  ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2559 รายละไม่เกิน 500,000 บาท จำนวนประมาณ 500,000 ราย ต้นเงินกู้ 40,000 ล้านบาท และหนี้เงินกู้ต้องไม่เป็นหนี้ดำเนินคดีและไม่เป็นหนี้เงินกู้โครงการนโยบายรัฐหรือโครงการที่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในลักษณะเดียวกัน

                             วิธีการ 

                             1) พักชำระต้นเงินโดยเลื่อนกำหนดชำระคืนต้นเงินเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561

                             2) ลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ต่อปีให้เกษตรกร  เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม  2561 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกร ร้อยละ 1.50 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระดอกเบี้ยแทนเกษตรกร ร้อยละ 1.50 ต่อปี

                             3) ในระหว่างโครงการเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้  เกษตรกรต้องส่งชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น

จากหนี้เงินกู้ที่พักชำระให้ครบถ้วนตามสัญญา

                             4) เกษตรกรต้องแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ

                             ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561

รวมระยะเวลา 2 ปี

3.       โครงการให้สินเชื่อเพื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

                             วัตถุประสงค์ 

1)      เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็นในครัวเรือนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 

2)      เพื่อลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ

                             เป้าหมาย เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. สมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตร  สมาชิกกลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรทั่วไป ผู้ปลูกมันสำปะหลัง 500,000 ราย 

                             วิธีการ 

                             วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 20,000 บาท ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยจากผู้เข้าร่วมโครงการในอัตรา             ร้อยละ  0.5 ต่อเดือน (ร้อยละ 6 ต่อปี)  กรณีไม่ส่งชำระตามกำหนด คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติของธนาคาร โดยให้แยกวงเงินกู้และวงเงินค้ำประกันต่างหากจากวงงเงินปกติของธนาคาร

                             ระยะเวลาดำเนินโครงการ

1)      ระยะเวลาจ่ายเงินกู้  เริ่มเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560

2)      กำหนดชำระคืน  ไม่เกิน 12 เดือน รับแต่วันจัดทำสัญญากู้

3)      ระยะเวลาโครงการ เริ่มเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2561

 

17. เรื่อง โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

                   คณะรัฐมนตรมีมติเห็นชอบหลักการโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

(ปี 2560 – 2563) และแนวทางการดำเนินงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวทางดังกล่าวไปดำเนินการ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   สศช. ได้ร่วมกับ ศอ.บต. จัดทำโครงการเมืองต้นแบบฯ โดยที่ประชุม คปต. มีมติเห็นชอบหลักการ กรอบแนวคิด และแนวทางการพัฒนาโครงการฯ ดังกล่าวแล้ว สรุปได้ดังนี้

                   1. กรอบแนวคิด พัฒนาภายใต้กรอบแนวคิดเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”โดยพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และ อ.เบตง จ.ยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบที่มีการพัฒนาในลักษณะพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะ ให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนที่สามารถสร้างงานและสร้างรายได้ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น

                   2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

                   3. เป้าหมาย พัฒนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็น “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร” พัฒนา อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เป็น “ศูนย์กลางการค้าขายแดนระหว่างประเทศ” พัฒนา อ.เบตง จ.ยะลา เป็น “เมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน”

                   4. แนวทางการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

                   (1) ระยะเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน เช่น ออกมาตรการด้านสิทธิประโยชน์

การลงทุน จัดตั้งกองทุนส่งสริมธุรกิจรุ่นใหม่ของแต่ละอำเภอ เป็นต้น

                   (2) ระยะที่ 2 ปีถัดมาเพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะแรก

                   - อ.หนองจิก ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้า OTOP ปรับปรุงท่าเรือปัตตานีและถนน

                   - อ.สุไหงโก-ลก จัดตั้ง Free Trade Zone ก่อสร้างสะพานโก-ลกแห่งที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า โรงงาน ศูนย์นิทรรศการ ฯลฯ

                   - อ.เบตง พัฒนาการท่องเที่ยวครบวงจรและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพระบบไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ

                   (3) ระยะต่อไปในการเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

18. เรื่อง โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 ของการประปานครหลวง

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 ของการประปา

นครหลวง ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   มท. รายงานว่า

                   1. กปน. ได้จัดทำโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคง เพียงพอ และความมีเสถียรภาพในโครงสร้างพื้นฐานระบบประปาพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กปน. ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ให้สามารถเข้าถึงน้ำประปาที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย รองรับกับปริมาณความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายรัฐบาลและการพัฒนาประเทศตามแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ในด้านการพัฒนาศักยภาพการให้บริการน้ำอุปโภคบริโภคทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่มีมาตรฐานสากลครอบคลุมทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท

                   2. กปน. ได้จัดทำโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 โดยมีขอบเขตงานครอบคลุมระบบน้ำดิบ ระบบผลิตน้ำ ระบบสูบส่งน้ำ ระบบสูบจ่ายน้ำ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปี พ.ศ. 2565 ซึ่งคณะกรรมการ กปน. ได้ให้ความเห็นชอบโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 9 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 โดยมี วัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้

                   1. เพื่อขยายกำลังการผลิตน้ำประปาของโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ให้รองรับกับปริมาณความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยงระบบผลิตน้ำ

                   2. เพื่อสร้างเสถียรภาพและความั่นคงของระบบส่งน้ำด้วยการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์อีกหนึ่งเส้นทาง พร้อมทั้งก่อสร้างอุโมงค์ ส่งน้ำเชื่อมฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเพิ่มอีกหนึ่งเส้นทางหนึ่ง

                   3. เพื่อสร้างประสิทธิภาพในระบบสูบจ่ายน้ำโดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยการเพิ่มสถานีสูบจ่ายน้ำแห่งใหม่

                   4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสูบจ่ายน้ำโดยการก่อสร้างขยายถังเก็บน้ำใสเพิ่มที่สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี สถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบัง สถานีสูบจ่ายน้ำบางพลี สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว และสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

                   5. เพื่อรองรับการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่รอบนอกตามรอยต่อของเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กปน.

 

19. เรื่อง (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุรไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุรไพรไทย ฉบับที่ 1                พ.ศ. 2560-2564

                   2. มอบหมายให้กระทรวงหลักทั้ง 9 กระทรวง [สธ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)  กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)  กระทรวงมหาดไทย (มท.)  กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)  และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)]  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  และสำนักงบประมาณพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

                   3. เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนด นโยบายขับเคลื่อน และติดตามผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 รวมถึงให้ข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสมุนไพรของประเทศ โดยมอบหมายให้ สธ. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ

                   ทั้งนี้  ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ  ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งพิจารณาดำเนินการดังนี้

2.       บูรณาการทำงานตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรตามที่เสนอในครั้งนี้กับ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)  ตามมติคณะรัฐมนตรี           เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 [เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical  Hub) (พ.ศ. 2559-2568)]  เพื่อให้การดำเนินการมีความสอดคล้องกัน ไม่ซ้ำซ้อนและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

3.       เร่งรัดการสรรหาบุคคลผู้ซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติแล้วนำเสนอประธานกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติต่อไป

4.       ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

สมุนไพร  เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2542 รวมทั้ง

ร่างพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... ที่กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการยกร่าง ให้มีความเหมาะสม เป็นปัจจุบัน ไม่ซ้ำซ้อนและสอดคล้องกันเพื่อให้การพัฒนาสมุนไพรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

20. เรื่อง แนวทางการลดอุบัติเหตุทางถนนด้วยใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการลดอุบัติเหตุทางถนนด้วยใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์  ตามที่กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม (คค.) ได้จัดทำโครงการเพื่อดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

                   1. โครงการ “มั่นใจทั่วไทยรถใช้ GPS” ได้ออกประกาศให้รถโดยสารสาธารณะและรถลากจูงที่

จดทะเบียนก่อนมกราคม 2559 จะต้องติดตั้ง GPS ให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ส่วนรถโดยสารสาธารณะ รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนตั้งแต่มกราคม 2559 ต้องติดตั้ง GPS ทันที รวมทั้งรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งแต่สิบล้อขึ้นไปทุกคันจะต้องติดตั้ง GPS ให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 โดยขณะนี้กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างเร่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

                   2. โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ในการออกใบอนุญาตขับรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นโครงการพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตขับรถรูปแบบใหม่ให้เป็นบัตรแบบพลาสติกที่มีแถบแม่เหล็กซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการปลอมแปลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการนำไปใช้อย่างผิดกฎหมาย อันก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยจะนำมาใช้ร่วมกับเครื่อง GPS เพื่อควบคุมผู้ขับรถให้เกิดความปลอดภัย และคาดว่าจะสามารถเริ่มออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ใน  ไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2560 โดยในอนาคตจะกำหนดให้ใช้ใบอนุญาตขับรถแบบใหม่นี้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ

 

21. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2                       (พ.ศ. 2560 - 2564) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

                   สาระสำคัญของ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 - 2564                  มียุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

                   ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

                   ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว

                   ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว

                   ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทยผ่านการตลาดเฉพาะกลุ่ม การส่งเสริมวิถีไทย และการสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว

                   ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ

                   ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาที่สำคัญในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564) มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี สามารถแบ่งแนวทางการขับเคลื่อนได้เป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) แนวทางระยะสั้น (Quick-win) ในระยะ 1-2 ปีของแผน โดยดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ ที่สามารถเริ่มปฏิบัติได้ทันที และคาดว่าสามารถเห็นผลได้ภายในช่วง 2 ปีแรกของระยะแผนฯ (ภายในปี พ.ศ. 2561) ซึ่งผลจากการดำเนินงานในระยะสั้นจะเป็นพื้นฐานเพื่อการต่อยอดสู่การพัฒนาในระยะถัดไป 2) แนวทางระยะกลาง (Medium-term) ระยะ 3-5 ปี เป็นการดำเนินการที่สามารถเริ่มปฏิบัติได้ในช่วงปีที่ 2-3 ของระยะแผนฯ เนื่องจากบางแนวทางอาจยังไม่สามารถเริ่มปฏิบัติได้ในช่วงปีแรกทันที หรือแนวทางนั้นเป็นการต่อยอดจากแนวทางระยะสั้นเพื่อขยายกรอบการดำเนินการสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและ       คาดว่าสามารถเห็นผลได้ภายในกรอบระยะเวลาแผนฯ (ภายในปี พ.ศ. 2564)

 

22. เรื่อง (ร่าง) ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2559 - 2563 และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2559 - 2563

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2559 - 2563 และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชา       ปี 2559 - 2563 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

                   สรุปสาระสำคัญเรื่อง (ร่าง) ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2559 - 2563 และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ               ปี 2559 – 2563

                   1. (ร่าง) ยุทธศาสตร์กาแฟ ปี 2559 – 2563 มุ่งเน้นเป็นผู้นำการผลิตและการค้ากาแฟคุณภาพในภูมิภาคอาเซียนก้าวไกลสู่ตลาดโลกภายใต้ภาพลักษณ์กาแฟไทย ที่มีการเพิ่มปริมาณผลผลิตกาแฟในประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สร้าง/พัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสู่สากลและภาพลักษณ์กาแฟไทย สร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้ากาแฟในอาเซียน โดยมีเป้าหมาย รักษาผลผลิตกาแฟโรบัสตาภายใต้การผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 30,000 ตัน/ปี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากกว่า 250 กิโลกรัม/ไร่ ในสวนเดี่ยว และมากกว่า 150 กิโลกรัม/ไร่ ในสวนผสมผสาน ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างน้อยร้อยละ 10 และเพิ่มมูลค่าการค้ากาแฟอย่างน้อยร้อยละ 10 และพัฒนาคุณภาพกาแฟอะราบิกาให้ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และเพิ่มมูลค่าการค้ากาแฟอะราบิกาอย่างน้อยร้อยละ 10

                   2. (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชา ปี 2559 – 2563 มุ่งเน้นการเป็นผู้นำการค้าชาในภูมิภาคอาเซียน ก้าวไกลสู่ตลาดโลกภายใต้ภาพลักษณ์ชาไทย ที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิต สร้าง/พัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานชาสู่สากลและภาพลักษณ์ชาไทย สร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าชาในอาเซียน โดยมีเป้าหมายพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ผลิตชาเข้าสู่ระบบมาตรฐานการผลิตเกษตรดี

ที่เหมาะสมตามมาตรฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ เพิ่มมูลค่าการค้าชาอย่างน้อยร้อยละ 10 ภายในปี 2563

 

23. เรื่อง การปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดเป็นขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) ครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 ดังนี้

 

อัตราค่าจ้างลูกจ้าง (บาท)

อัตราการปรับเพิ่ม

เงื่อนไข

 

1 – 43,890

 

แบบช่วง

แบบขั้น

-  ลูกจ้างที่เคยได้รับอัตราค่าจ้างน้อยกว่าหลังจากปรับค่าจ้างดังกล่าวแล้วจะยังคงได้รับอัตราค่าจ้างไม่สูงกว่าลูกจ้างที่มีค่าจ้างสูงกว่า และไม่เกินอัตราค่าจ้างขั้นสูงของแต่ละระดับตำแหน่ง

-  ให้ใช้งบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง

ไม่เกินร้อยละ 2

ไม่เกิน 0.5 ชั้น

หมายเหตุ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2557

 

24. เรื่อง การบริหารงานเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของการบริหารงานเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                    สาระสำคัญของการบริหารงานเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน

มีมาตราการและวิธีการดำเนินการ ดังนี้

                    มาตรการที่ 1 ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ 1) ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าร่วมไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบและให้คิดดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด คือ ไม่เกินร้อยละ15 ต่อปี 2) ให้เจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบ โดย กค. จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยประเภทใหม่ และให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้ในระดับที่คุ้มค่าแต่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยจากการให้บริการหนี้นอกระบบ 3) เร่งรัดให้ร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ให้สินเชื่อที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย

                   มาตรการที่ 2 เพิ่มช่องทางเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้ลูกหนี้นอกระบบและประชาชน ได้แก่

1) กค. กำหนดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยประเภทใหม่ คือ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกโฟแนนซ์) เพื่อให้เจ้าหนี้นอกระบบให้บริการสินเชื่อรายย่อยในระบบได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายฉุกเฉินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ แทนการกู้ยืมนอกระบบ 2) ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. จัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อรับผิดชอบภารกิจด้านการแก้ไขหนี้นอกระบบโดยเฉพาะ แยกออกมาจากโครงการสร้างการดำเนินงานตามปกติของธนาคาร

                    มาตรการที่ 3 ลดภาระหนี้นอกระบบโดยการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ จัดให้มีจุดให้คำปรึกษาใน

ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยให้ทั้งสองธนาคารประสานงานกับคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้นอกระบบประจำกรุงเทพมหานครหรือประจำจังหวัด ซึ่งมีอธิบดีอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน หรืออัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด เป็นประธาน เพื่อไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบให้เกิดมูลหนี้ที่เป็นธรรม ก่อนที่ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. จะพิจารณาสินเชื่อตามศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบแต่ละรายต่อไป

                    มาตรการที่ 4 เพิ่มศักยภาพของลูกหนี้นอกระบบ ลูกหนี้นอกระบบที่ไม่มีศักยภาพในการหารายได้หรือมีความสามรถในการชำระหนี้ต่ำจะได้รับการฟื้นฟูอาชีพ ผ่านกลไกของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบประจำกรุงเทพมหานครหรือประจำจังหวัด ซึ่งมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยมุ่งเน้นให้มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม ปลูกฝังความรู้และวินัยทางการเงิน รวมถึงฝึกอบรมอาชีพหรือทักษะฝีมือแรงงานอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ อาจพิจารณาให้ทุนสนับสนุนในการประกอบอาชีพตามความเหมาะสม ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก

                    มาตรการที่ 5 สนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรการเงินชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) พัฒนาเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน โดย กค. ธ.ออมสิน ธ.ก.ส. สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรมการพัฒนาชุมชน และหน่วยงานอื่นจะให้ความรู้ทางการเงินและกฎหมายและให้การสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการแก้ไขหนี้นอกระบบ นอกจากนี้ หากองค์กรการเงินชุมชนมีวงเงินให้กู้ยืมไม่เพียงพอ ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. อาจจะให้การสนับสนุนได้ 2) เผยแพร่ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน โดย กค. ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและองค์กรการเงินชุมชน ในการเผยแพร่ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการเงินส่วนบุคคลแก่ประชาชนฐานราก เช่น การออมเงิน การวางแผนทางการเงิน จัดทำบัญชีครัวเรือน และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับภัยของหนี้นอกระบบ ตลอดจนช่องทางขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ 3) จัดทำฐานข้อมูลหนี้นอกระบบของประเทศ โดย กค. พัฒนาฐานข้อมูลและเชื่อมโยงฐานข้อมูล

ผู้ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ

                   




ต่างประเทศ

 

25. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – ลาว

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย – ลาว และบันทึกความเข้าใจ

ฉบับจัดทำวันที่ 18 มีนาคม 2559

                   2. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทยและลาว

                   3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย – ลาว

                   4. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ และบันทึกความเข้าใจ โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   1. ร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย – ลาว ฉบับจัดทำเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 เพื่อใช้แทนที่ความตกลงฯ ฉบับเดิมที่ลงนามเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2520 เพื่อให้ความตกลงฯ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกฎหมายภายในของทั้งสองฝ่าย โดยร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่มีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ และปรับปรุงตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเพิ่มเติมข้อบทที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนคำนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ” ในกรณีของราชอาณาจักรไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรการกำกับดูแลการบินพลเรือน การกำหนดและการอนุญาตหลักการในการกำหนด

สายการบินและคุณสมบัติของสายการบินที่จะใช้สิทธิภายใต้ความตกลงฯ การให้สิทธิรัฐภาคีในการระงับ เพิกถอน และพักใช้ใบอนุญาตดำเนินการ ในกรณีที่สายการบินไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข

ที่กำหนด ความปลอดภัยการบินที่ภาคีคู่สัญญาต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยตามที่ ICAO กำหนดไว้

และข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือ/การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน

                   2. ร่างหนังสือการแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทย – ลาว มีข้อแก้ไขเกี่ยวกับสิทธิความจุการทำการบินรับขนส่งผู้โดยสารของทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้น และแก้ไขสายการบินที่กำหนด ดังนี้

 

           รายการ      

                                     สาระสำคัญ

สิทธิความจุ

เส้นทางกรุงเทพฯ – เวียงจันทร์ และกลับ เพิ่มเป็น 14,500 ที่นั่งต่อสัปดาห์

เส้นทางกรุงเทพฯ – หลวงพระบาง และกลับ เพิ่มเป็น 10,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์

เส้นทางสนามบินศุลกากรในประเทศไทย – สนามบินศุลกากรใน สปป. ลาว

เพิ่มเป็น 2,100 ที่นั่งต่อสัปดาห์

สายการบินที่กำหนด

ของไทย ได้แก่ (1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (2) บริษัท การบินกรุงเทพ

จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (4) บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด และ (5) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) และของสปป.ลาว ได้แก่ (1) ลาวแอร์ไลนส์ และ (2) ลาวเซ็นทรัล แอร์ไลนส์

 

ทั้งนี้ เพื่อรับรองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สายการบิน ของไทยที่ทำการบินไปยังลาว 3 สายการบิน มีความยืดหยุ่นในการวางแผนการให้บริการ และเปิดโอกาสให้สามารถเพิ่มบริการระหว่างกันได้มากขึ้นในภาพรวม รวมทั้งเปิดโอกาสให้สายการบินของไทยรายอื่น ๆ ที่มีความพร้อมสามารถทำการบินไปยังประเทศลาวได้เช่นกัน

                  

26. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมัลดีฟส์   ครั้งที่ 2

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบในหลักการต่อท่าทีไทยสำหรับการหารือกับสาธารณรัฐมัลดีฟส์ และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) ใช้เป็นกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ครั้งที่ 2

                   2. หากในการประชุมดังกล่าว มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับสาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยมีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมาให้กระทรวงพาณิชย์และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

                   3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย รับรองผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ครั้งที่ 2 รวมถึงเอกสารอื่น ๆ  ที่เป็นผลจากการหารือขยายความร่วมมือเฉพาะด้าน (หากมี)

                   สาระสำคัญของท่าทีไทยสำหรับการประชุม JTC ไทย - สาธารณรัฐมัลดีฟส์ ครั้งที่ 2  ดังนี้

1. ความร่วมมือด้านสาขาการประมง 2. ความร่วมมือสาขาด้านสุขภาพและบริการที่เกี่ยวข้อง 3. ความร่วมมือด้านสาขาการท่องเที่ยว 4. การจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนและความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน 5. ความร่วมมือด้านแรงงาน 6. การยกเว้นการตรวจลงตราให้มัลดีฟส์       7. การจัดตั้งสำนักงานการค้าสาธารณรัฐมัลดีฟส์ในไทย

 

27. เรื่อง  ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมเวียดนามว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ ดังนี้

1.       เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ

รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ  เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย  กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)  เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ  แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง 

2.       อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็น          

ผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ

3.       มอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)  ให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2

                   สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ มีเนื้อหาสำคัญในการที่ภาคีคู่สัญญาจะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในสาขาวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างสองประเทศบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีอยู่ของแต่ละประเทศ  เกี่ยวกับสาขาความร่วมมือ ครอบคลุม 17 สาขา ได้แก่ 1) ดาราศาสตร์ 2) เทคโนโลยีชีวภาพ  3) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ 4) ความมั่นคงด้านอาหาร น้ำและพลังงาน 5) ภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ   6) ชีววิทยาศาสตร์  7) วัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี  8) การมาตรฐานและมาตรวิทยา  9) เทคโนโลยีนิวเคลียร์และกฎระเบียบ 10) การสื่อสารวิทยาศาสตร์  11) นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  12)  เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน  13) การจัดการน้ำ                  14) เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมแสง 15) วิทยาศาสตร์การเกษตร 16) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และ 17) สาขาอื่น ๆ ของความร่วมมือ ซึ่งอาจเห็นพ้องร่วมกัน  โดยรูปแบบความร่วมมือ ครอบคุลม 6 กิจกรรม ได้แก่  1) โครงการการวิจัยและพัฒนาร่วม 2) การแลกเปลี่ยนนักวทิยาศาสตร์ และนักวิจัย  3) การจัดการประชุมทางวิชาการ  การสัมมนา การฝึกอบรม และการจัดนิทรรศการ 4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                         5) การถ่ายทอดเทคโนโลยี และ  6) รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ  ซึ่งอาจเห็นพ้องร่วมกัน

 

28. เรื่อง ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปี ค.ศ. 2016-2018

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติการจัดทำและลงนามแนวปฏิบัติร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง กก. แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปี ค.ศ. 2016-2018 และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงแนวปฏิบัติร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ กก. ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย

                   2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในแนวปฏิบัติร่วมฯ (โดยระบุตำแหน่ง)

                   สาระสำคัญของแนวปฏิบัติร่วมฯ สรุปได้ดังนี้

                   1. การแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว ได้แก่

                             1.1 การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนหนึ่งคณะในวันที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันเพื่อแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและการส่งเสริมการท่องเที่ยว การวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว และธุรกิจนำเที่ยว

                             1.2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลนักท่องเที่ยวระหว่างกันให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เช่น สถิติ เอกสารทางกฎหมายด้านการจัดการท่องเที่ยวและการบริการ รวมทั้งระบบสติปัญญาทางการตลาดท่องเที่ยว

                             1.3 การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ด้านบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว

(ทีเอสเอ) ข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน (เอ็มอาร์เอ – ทีพี) และ

การจัดการในภาวะวิกฤต

                   2. การส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยว ได้แก่

                             2.1 การให้ความช่วยเหลือในการโฆษณาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านทางโทรทัศน์ เว็บไซต์การท่องเที่ยว นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

                             2.2 การช่วยเหลือในการจัดงานแสดงสินค้าในเมืองหลักและเมืองรองของแต่ละประเทศ

                             2.3 การแจ้งเรื่องการจัดงานท่องเที่ยวที่มีขึ้นในประเทศของตนให้อีกฝ่ายทราบและสร้างความน่าสนใจเพื่อดึงดูดให้ประเทศที่สามเข้าร่วม รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมในงานการท่องเที่ยวที่จัดขึ้น

                             2.4 การนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว ธุรกิจผลิตรายการนำเที่ยวและสื่อของอีกฝ่ายเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสินค้าท่องเที่ยวและนำมาเสนอเป็นหัวข้อข่าว ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และ โปรแกรมท่องเที่ยว

                   3. การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่

                             3.1 การช่วยเหลือในด้านการฝึกอบรมการท่องเที่ยวและข้อมูลสารสนเทศ

                             3.2 การช่วยเหลือในเรื่องทุนการศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่และนักเรียนการท่องเที่ยว

 

29. เรื่อง  เอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ  ดังนี้

  1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่  (1) ร่างวิสัยทัศน์ความร่วมมือเอเชีย

ค.ศ. 2030 (2) ร่างปฏิญญากรุงเทพฯ (3) ร่างเอกสารแถลงการณ์ ACD  เกี่ยวกับบทบาทของเอเชียในการกระตุ้นการเติบโตผ่านความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความเชื่อมโยง  ทั้งนี้ในกรณีที่ กต. ต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ให้ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย 

                   2. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีพ  ครั้งที่ 2 ร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 3 ฉบับ

                   3. ให้ กต. จัดทำกรอบระยะเวลาดำเนินการตามผลลัพธ์การประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2 ให้ชัดเจนว่า กิจกรรมใดจะต้องดำเนินการภายในช่วงการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล  (ภายในเดือนกรกฎาคม 2560)  และกิจกรรมใดจะต้องส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไป โดยให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 (ด้านต่างประเทศ)  

                   4. ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 เรื่องการเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรีด้วย

                   สาระสำคัญของเรื่อง 

                   กต. รายงานว่า

  1. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดกรอบควรมร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2 และการ

ประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2559 ที่กรุงเทพฯ โดยการประชุมผู้นำจะจัดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2559 ณ กต. มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมและมีผู้นำและผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิก ACD                  33 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมฯ 

  1. ที่ประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย  ครั้งที่ 2 จะให้การรับรองเอกสาร 3 ฉบับ  เพื่อเป็น

ผลลัพธ์ของการประชุมฯ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ACD  เมื่อวันที่  14 กันยายน  2559 และที่ประชุมรัฐมนตรี ACD  คู่ขนานกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ  ครั้งที่ 71 เมื่อวันที่                 22 กันยายน 2559

ทั้งนี้ ร่างเอกสารทั้ง 3 ฉบับ  เป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิก ACD

เพื่อวางกรอบแนวทางการดำเนินความร่วมมือในอนาคตของกรอบ ACD  โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืนที่สอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ. 2030 รวมทั้งร่างพิมพ์เขียวระยะ 5 ปี                  (ค.ศ. 2017-2021)   ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะให้ประเทศสมาชิกพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือใน                 6 เสาหลัก ของ ACD เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศและผลประโยชน์ของไทยและภูมิภาคโดยรวม ซึ่งมิได้มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ  จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ทั้งนี้  ที่ประชุมสุดยอดฯ จะให้การรับรองเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีการลงนาม

 

30. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในสาขาทรัพยากรน้ำระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

                    1. เห็นชอบและอนุมัติการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในสาขาทรัพยากรน้ำระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับผลประโยชน์ของไทย ให้ ทส. พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

                    2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ

                    ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในสาขาทรัพยากรน้ำระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และคมนาคมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับนโยบายด้านน้ำ กฎหมายและองค์กร เทคโนโลยี และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการดำเนินงานในสาขาทรัพยากรน้ำของทั้งสองประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับทวิภาคี โดยเน้นย้ำความร่วมมือในสาขาดังต่อไปนี้

                   (1) การพัฒนานโยบายด้านน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการบริหารจัดการน้ำ

                   (2) การออกแบบและการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Management System) โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลด้านน้ำแบบบูรณาการ

                   (3) การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยใช้ระบบการผลิตน้ำประปาและการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination)

                   (4) เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำขั้นสูงและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน

                   (5) การศึกษาหรือการวิจัยร่วม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

                   (6) ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่ได้มีการตกลงร่วมกัน

บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี และจะขยายเวลาออกไปโดยอัตโนมัติทุก 5 ปี

 

31. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้

                    1. อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงศึกษาธิการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

                    2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

                    3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้แก่ผู้ลงนามในข้อ 2

                   สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาทุกระดับทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยมีรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย อาทิ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ครู นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ทุนการศึกษา การวิจัยร่วม การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนสาขา  อื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เป็นต้น

 




แต่งตั้ง

 

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ             (กระทรวงพาณิชย์)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นางวิไลวรรณ ทัพวงศ์ศรี            หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ซึ่งวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายกำพล กาญจโนภาศนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา) กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) งานบริการสุขภาพชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

34. เรื่อง การขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูตระดับสูง) และตำแหน่งอธิบดี

(นักบริหารระดับสูง) (กระทรวงการต่างประเทศ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งเอกอัครราชทูต จำนวน 4 ราย และตำแหน่งอธิบดี จำนวน 2 ราย รวม 6 ราย ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ดังนี้

                   1. นางสาววิมล คิดชอบ  ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก

                   2. นายเรืองเดช มหาศรานนท์ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณกรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

                   3. นายธานี ทองภักดี ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส 

                   4. นางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ

                   5. นายชุตินธร คงศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

                   6. นายภาสกร ศิริยะพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

                   ทั้งนี้ ลำดับที่ 1 ถึง 5 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 (เฉพาะลำดับที่ 1,2 และ 4 เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2560 ด้วย) และลำดับที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่            16 ตุลาคม 2560

 

35. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้

                   1. นายอภิชาติ อภิชาตบุตร รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   2. นางสาววันเพ็ญ สุวรรณวิสิฏฐ์ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   3. นางไพรวรรณ พลวัน รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   4. นายณรงค์ คงคำ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่            วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ             สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้

                   1. นายประเสริฐ บุญเรือง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง            รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   2. นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                    รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   3. นายประชาคม จันทรชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                   4. นายกฤตชัย อรุณรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน                     สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่              วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ              สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย ดังนี้

                   1. นายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

                   2. นายสมคิด วงศ์ไชยสุวรรณ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง                              รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   3. นายสุรพล ชามาตย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง                  ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 

                   4. นายณัฐพล รังสิตพล รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   5. นายประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   6. นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย                       สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

 

38. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้ง นาวาเอก ปิยะ อาจมุงคุณ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือนตามมติคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 และครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2559 ส่วนค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นรวมทั้งเงื่อนไขการจ้างและการประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

 

39. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอการแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบรายชื่อแล้ว จำนวน 13 คน ดังนี้ 1. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 2. พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 3. พลเอก จำลอง คุณสงค์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 4. พลเอก ปราการ ชลยุทธ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล                 5. พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 /รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 6. พลเอก สกล ชื่นตระกูล อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 7. พลเอก อักษรา เกิดผล อดีตเสนาธิการทหารบก /เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 8. พลเอก อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 9. พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 10. พลตำรวจโท ไพฑูรย์

ชูชัยยะ อดีตผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 11. นายพรชาต บุนนาค อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 12. นายจำนัล เหมือนดำ อดีตรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาล 13. นายภาณุ อุทัยรัตน์                 อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาล

 

40. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชุดใหม่ จำนวน 11 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งจะครบวาระสี่ปีในวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ดังนี้ 1. นายสมยศ เชื้อไทย ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 2. พลตำรวจตรี รัฐวิทย์ แสนทวีสุข  ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 3. นายจักกพงศ์ ณ บางช้าง  ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 4. นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล  ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 5. นายบุญมา เตชะวณิช  ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 6. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 7. นายศุทธา ปริยวัฒน์  ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 8. นายสมศักดิ์ พณิชยกุล   ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 9. นายวรารักษ์ ชั้นสามารถ   ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 10. นางภาณุมาศ สิทธิเวคิน   ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ 11. นางสาวอรพรรณ พนัสพัฒนา   ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2559                   เป็นต้นไป

                                                          ------------------------------------- -




  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | วันที่ประกาศ :05/10/2559



© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
DSDW Information Center
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100