ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 15 กันยายน 2558

http://www.thaigov.go.th

 

                   วันนี้ (15 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล         

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี?             

                   ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                   ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

 




กฎหมาย

1.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                   2.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ                                           ครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ)

                   3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง  ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริม                                          การฝึกวิชาทหาร  พ.ศ. 2503

 




เศรษฐกิจ – สังคม

4.       เรื่อง     โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาตามพระราชดำริ                                         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                    5.       เรื่อง     ขอเงินงบกลางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี 2557

                                        (ช่วงประสบภัยเดือนมิถุนายน 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558)

                    6.       เรื่อง     ขออนุมัติโครงการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า

                    7.       เรื่อง     โครงการออกแบบและก่อสร้างศาลากลางน้ำเพื่อประดิษฐานพระบรมรูป                                                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ตำบลหนองแก  อำเภอหัวหิน                                      จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                    8.       เรื่อง     การปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น และการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ                                              อาสาสมัคร ทหารพราน

 




ต่างประเทศ

9.       เรื่อง     ขอความเห็นชอบต่อเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ                                 สมัยสามัญ ครั้งที่ 70

                    10.      เรื่อง     การรับรองร่างเอกสารผลการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการ                                     พัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015

11.      เรื่อง     แผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                              กระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับปี 2559 – 2561

                    12.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อการขยายระยะเวลาสำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการ                                     ตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการพัฒนาภายใต้การประชุมสุดยอด                                      เอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS)  (พ.ศ. 2557-2558)

 

                   13.      เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการ                                           ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักร                     ไทยกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐ                                      โคลอมเบีย

 




แต่งตั้ง

 

                    14.      เรื่อง     การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของเลขาธิการ                                           คณะรัฐมนตรี

                    15.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงแรงงาน)

                    16.      เรื่อง     การมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการ                                       ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

                    17.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                    18.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ                                                      ตลาดหลักทรัพย์

                    19.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

                    20.      เรื่อง     การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ                                                ประกันภัย

                    21.      เรื่อง     แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร                                            สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

                    22.      เรื่อง     คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 246 /2558 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้

                                        รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี (เพิ่มเติม)

                    23.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    24.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและ

                                        ความมั่นคงของมนุษย์)

                    25.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)

                    26.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง

                                        (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

                    27.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงสาธารณสุข)

                    28.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน                                       (กระทรวงพลังงาน)

                    29.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ                                                      กระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงศึกษาธิการ)

                    30.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

                    31.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

 

*******************

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




กฎหมาย

 

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....              ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                   1. แก้ไขเพิ่มเติมให้กรรมการหรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ครบวาระแล้ว ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการหรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการส่งเสริม               การลงทุนซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

                   2. กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจมอบหมายให้บุคคลภายนอกดำเนินการแทนสำนักงานได้บางภารกิจ เช่น การตรวจสอบเครื่องจักร วัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

                   3. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไของค์การการค้าโลก (WTO) เช่น ยกเลิกกิจการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศการบังคับใช้วัตถุดิบในประเทศ และเงื่อนไขการอุดหนุนส่งออกซึ่งเป็นการอุดหนุนที่ต้องห้าม

                   4. กำหนดสิทธิและประโยชน์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่ได้รับการส่งเสริมมีการทำวิจัยและพัฒนา เช่น              ให้คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้ามา  เพื่อใช้ในการทดสอบ วิจัยและพัฒนาตามที่คณะกรรมการกำหนด สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง การวิจัยและพัฒนา คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาไม่เกินสิบสามปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น

                   5. เพิ่มสิทธิและประโยชน์ทางภาษีให้แก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น

                       5.1 คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมหักค่าใช้จ่ายไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงิน              ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้เสียไปในการประกอบกิจการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามเงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

                       5.2 คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมหักเงินที่ใช้ไปในการลงทุนในโครงการ                ที่ได้รับการส่งเสริมจากกำไรรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละเก้าสิบของเงินที่ลงทุนแล้วในกิจการนั้น

                       5.3 ขยายเวลาการจ่ายเงินปันผล เพื่อช่วยให้ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในกรณี             ผู้ได้รับการส่งเสริมไม่อาจจ่ายเงินปันผลได้ทันตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยขยายเวลาการจ่ายเงินปันผลไปอีกหกเดือน ภายหลังสิ้นสุดการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..)            พ.ศ. .... (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว  ตามที่ สคก. เสนอ  และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา  ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

 

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   สคก. เสนอว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (วาระการดำรงตำแหน่ง                   ผู้พิพากษาสมทบ) สรุปผลการพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

  1. กำหนดคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา

(คณะพิเศษ) ได้ตัดความเดิมว่า “ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระให้คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่” ออก ซึ่งต่อมา ศย. ขอให้คงความในวรรคแรกของมาตรา 25/1  โดยชี้แจงภายหลังว่าอาจมีกรณีผู้พิพากษาสมทบครบสาระพร้อมกันทั้งศาล จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้พิพากษาสมทบที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบวาระคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าผู้พิพากษาสมทบคนใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เพื่อมิให้เกิดช่องว่างในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้แทน ศย. มิได้ชี้แจงปัญหาข้อขัดข้องดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการฯ  ตั้งแต่ต้น  และผู้แทน ศย. มิได้ขัดข้องกับการตัดความดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) พิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้ว  เห็นว่า  เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวตามที่ผู้แทน ศย. ชี้แจงเห็นควรคงความดังกล่าวตามร่างเดิมในวรรคหนึ่งของมาตรา 25/1 (ร่างมาตรา 5 (เพิ่มมาตรา 25/1))

                  

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง  ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร               พ.ศ. 2503

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง  ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503  ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ  และให้ส่ง                    สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ 

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   แก้ไขชื่อส่วนราชการในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2528) ออกตามในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 กฎกระทรวง   ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร               พ.ศ. 2503  และกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 จาก “กรมการรักษาดินแดน” เป็น “หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน” ทุกแห่ง

 

 

 

 

 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

4. เรื่อง โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กรมราชองครักษ์) เสนอโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้

                   1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 เพื่อให้กรมราชองครักษ์เป็นผู้เบิกจ่ายงบประมาณของโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุข โดยประสานกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อจัดทำแผนงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

                   2. พิจารณาความเหมาะสมในการลงนามในบันทึกความตกลงโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชาทั้งสองด้าน คือ ด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุข ทั้งนี้ โดยให้สมุหราชองครักษ์ หรือ  ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากสมุหราชองค์รักษ์ เป็นผู้ลงนามแทน

                   3. ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายสนับสนุนการดำเนินการ เรื่องการก่อสร้างการซ่อมแซม การปรนนิบัติบำรุง การพัฒนาบุคลากร หลักสูตรการศึกษา และตำรา ฯลฯ ตามที่คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตามโครงการพระราชทานฯ ที่กรมราชองครักษ์มีคำสั่งแต่งตั้งได้ร้องขอ โดยการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวให้ถือว่าเป็น                  การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบปฏิบัติของราชการต่าง ๆ โดยอนุโลม

                   4. ให้กรมราชองครักษ์พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการอื่น ๆ เท่าที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินโครงการพระราชทานฯ           จนเสร็จสิ้นต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กระทรวงกลาโหม (กห.) กรมราชองครักษ์ รายงานว่า

                   1. โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา และ                  ด้านการสาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (24 เม.ย. 44) มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

                       1.1 โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านการศึกษา ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันตามความตกลงโครงการและแผนงานจนได้รับคำชมเชยจาก ฯพณฯ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโซ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าเป็นความช่วยเหลือที่ดียิ่ง และปราศจาก             การต้องการสิ่งตอบแทน ซึ่งเป็นคุณอเนกอนันต์ต่อชาวกัมพูชา ทำให้เยาวชนชาวกัมพูชาได้มีโอกาสรับพระราชทานทุนการศึกษา มาศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจนถึงระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในประเทศไทย รวม 1,088 ทุน และเดินทางกลับกัมพูชา เพื่อรับราชการและประกอบกิจการส่วนตัว รวม 400 คน จึงขอพระราชทานขยายเวลาโครงการออกไปอีกเป็นเวลาห้าปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม                    2559 – 30 กันยายน 2564)

                       เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฯ กัมพูชา ได้ขอพระราชทานจัดตั้งสถานศึกษาแห่งใหม่ที่จังหวัดกำปงสปือ ซึ่งทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นชอบ และโปรดให้คณะกรรมการด้านการศึกษา (ไทย และกัมพูชา) ไปดำเนินการจัดหาสถานที่ก่อสร้าง แผนการพัฒนาบุคลากรครู แผนการศึกษาซึ่งคณะกรรมการทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันดำเนินการมา ซึ่งปัจจุบันนี้ได้จัดหาสถานที่ก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ณ จังหวัดกำปงสปือ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีพื้นที่ 1,200 ไร่ (200 เฮกตาร์)

                       1.2 โครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ด้านสาธารณสุข ได้ดำเนินการตามแผนและข้อตกลงฉบับสุดท้ายที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยได้คัดเลือกสรรหาเยาวชนในจังหวัดรัตนคีรี มณฑลคีรี เพื่อรับทุนพระราชทานไปศึกษาต่อในประเทศไทยหลักสูตรต่าง ๆ ด้านสาธารณสุข อาทิ ผู้ช่วยพยาบาลและพยาบาล รวมถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อปรับฐานความรู้ก่อนเข้ารับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยเน้นที่วิชาการด้านสาธารณสุขเป็นสำคัญ ฯลฯ เพื่อให้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในถิ่นกำเนิด           ของตนเอง และการอบรมระยะสั้น ๆ ในด้านการสาธารณสุขในท้องถิ่นหลายหลักสูตร หลายวิชา ทำให้นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเห็นความสำคัญและตรงความต้องการของชาวกัมพูชา จึงได้ขอพระราชทานขยายเวลาออกไปอีก 5 ปี                  (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564) ด้วยเหตุผลเดียวกันกับด้านการศึกษาคือผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งและ ตรงความต้องการของชาวกัมพูชา

 

5. เรื่อง ขอเงินงบกลางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี 2557 (ช่วงประสบภัยเดือนมิถุนายน 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ปี 2557 (ช่วงประสบภัยเดือนมิถุนายน 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558) รวม 5 ภัย ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยฝนทิ้งช่วง ศัตรูพืชระบาด และโรคพืชระบาด ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้แก่             จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา                  จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร               จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกร 61,722 ราย วงเงินขอรับความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น 681,582,382 บาท (ด้านพืช เกษตรกร จำนวน 59,479 ราย วงเงิน 673,112,789 บาท ด้านประมง เกษตรกร จำนวน 2,229 ราย วงเงิน 8,442,193 บาท ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร จำนวน 14 ราย วงเงิน 27,400 บาท) โดยให้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและรวบรวมส่งสำนักงบประมาณ (สงป.) พร้อมทั้งจัดทำคำขออนุมัติจัดสรรงบประมาณในคราวเดียวกัน และให้ถือว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุมัติจัดสรรงบประมาณของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมสำเนาส่ง ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่

 

6.  เรื่อง  ขออนุมัติโครงการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติโครงการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่าเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง                มารีน่าของอาเซียน (Thailand : Marina Hub of ASEAN) ในกรอบวงเงิน จำนวน 15 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

                   2. เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่าและคณะอนุกรรมการสาขาต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนด ซึ่ง คค. จะได้เร่งรัดจัดทำร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ                       เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนามต่อไป

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   คค. รายงานว่า กรมเจ้าท่าได้เสนอขออนุมัติโครงการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางมารีน่าของอาเซียน (Thailand : Marina Hub of ASEAN) โดยสถานที่จัดงานคือจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากมีท่าเทียบเรือสำราญ (มารีน่า) ที่มีความทันสมัย และเป็นที่รู้จักของต่างประเทศแล้วระดับหนึ่งและภาคเอกชนได้มีการจัดงานแสดงเรือสำราญเป็นประจำอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยภาคเอกชนจะนำเรือสำราญขนาดใหญ่ที่มีความยาวมากกว่า 100 ฟุต (Super Yacht) เข้าร่วมแสดง             ไม่ต่ำกว่า 10 ลำ ซึ่งปกติจะจอดอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลแคริเบียน เข้ามาร่วมแสดงในงานดังกล่าว          ซึ่งจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

 

 

                   วัตถุประสงค์ของโครงการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า

          1) เป็นการสร้างสิ่งจูงใจและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกื้อกูลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวทางทะเลเพื่อชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวในประเทศมีการท่องเที่ยวทางทะเลเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐบาล

          2) เป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างครบวงจร ทั้งในมิติด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และบริการต่อเนื่องอื่น ๆ

          3) เป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชน นักท่องเที่ยวและนักลงทุนตระหนักถึงศักยภาพของธุรกิจเรือสำราญและมารีน่า และแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาล (Political Will) ในการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง               มารีน่าของอาเซียน (Thailand : Marina Hub of ASEAN)

          การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นรองประธาน หัวหน้าหน่วยงานใน                      สังกัด คค. ที่เกี่ยวข้องและผู้แทนจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กก. มท. กห. กค. สำนักนายกรัฐมนตรี ตช. สกท.                   สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ร่วมเป็นกรรมการ

          คณะอนุกรรมการสาขาต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนด ภายใต้คณะกรรมการจัดมหกรรมเรือสำราญและมารีน่า มีดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์และปฏิคม 2) คณะอนุกรรมการด้านการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ 3) คณะอนุกรรมการด้านการศึกษาทบทวนในการกำหนดพื้นที่เหมาะสมใน                 การพัฒนามารีน่าในประเทศไทย และ 4) คณะอนุกรรมการด้านขนส่ง จราจร และรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

                    ระยะเวลาการจัดงาน ระหว่างเดือนมกราคม 2559 – กุมภาพันธ์ 2559 ณ จังหวัดภูเก็ต

 

7. เรื่อง  โครงการออกแบบและก่อสร้างศาลากลางน้ำเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ตำบลหนองแก  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โครงการออกแบบและก่อสร้างศาลากลางน้ำเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ตำบลหนองแก   อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 5 ธันวาคม 2560

                   สาระสำคัญของเรื่อง 

                   มท. รายงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้จัดทำโครงการก่อสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ                 พระเจ้าอยู่หัว  เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่พระองค์พระราชทานโครงการพระราชดำริด้านแหล่งน้ำเป็นแห่งแรกให้แก่พสกนิกรชาวไทย  และพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหา                  ความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก 

                   เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างตรากตรำและต่อเนื่องมายาวนาน และเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติ   กระทรวงมหาดไทย  จึงได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างศาลากลางน้ำ เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ณ อ่างเก็บน้ำเขาเต่า  ตำบลหนองแก  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์              เพื่อน้อมเกล้าน้อยกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา                      90 พรรษา 5 ธันวาคม 2560

 

 

 

 

8. เรื่อง การปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น และการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของอาสาสมัคร ทหารพราน

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และ               รัฐมนตรีว่ากรกระทรวงกลาโหมเสนอ ดังนี้

1.       เห็นชอบการปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น ให้กับอาสาสมัครทหารพราน ตามมติคณะรัฐมนตรี               

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557

2.       เห็นชอบการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของอาสาสมัครทหารพราย ตามระเบียบ

กระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557

                    สาระสำคัญของเรื่อง

                    กห. รายงานว่า

1.       อาสาสมัครทหารพรานเป็นบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 4/1 แห่ง

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2551 ซึ่งได้รับเงินเดือนระดับ พ.2 ตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้งได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยหลักเกณฑ์การได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างอื่นและสิทธิประโยชน์ของอาสาสมัครทหารพราน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเงินเพิ่ม            การครองชีพชั่วคราวดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกันกับบุคลากรภาครัฐอื่น  จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อย  ยังไม่ครอบคลุมต่ออาสาสมัครทหารพราน            ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลากรภาครัฐประเภทหนึ่งที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเช่นกัน

2.       ปัจจุบัน กห. มีการบรรจุอาสาสมัครทหารพราน จำนวน 23,500 นาย  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสำหรับ

การปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น  และการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของอาสาสมัครทหารพราน ตั้งแต่วันที่                   1 ตุลาคม  2557 ถึง 30 กันยายน 2558

ทั้งนี้  เพื่อให้การปรับเงินเดือนเพิ่ม 1 ขั้น และการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ

อาสาสมัครทหารพราน  ซึ่งเป็นกำลังพลชั้นผู้น้อยให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพและสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่ปรับสูงขึ้น  รวมทั้งเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ  พนักงานราชการ  ลูกจ้างประจำ  และลูกจ้างชั่วคราว

 




ต่างประเทศ

 

9. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70

                   2. หากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้ กต. พิจารณาและดำเนินการได้เลย โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กต. รายงานว่า

                   1. การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 15 กันยายน 2558 และดำเนินการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลักของการประชุมดังกล่าวว่า “The United Nations at 70: the road ahead for paece, security and human rights.”

                   2. ร่างเอกสารท่าทีไทยฉบับนี้เป็นการจัดทำท่าทีของคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ และแสดงให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระ การประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่ไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1) การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง 2) การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) การพัฒนาแอฟริกา 4) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม 6) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) การลดอาวุธ 8) การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรมและการต่อต้าน                   การก่อการร้ายระหว่างประเทศ และ 9) การบริหารองค์การและอื่น ๆ

 

10. เรื่อง การรับรองร่างเอกสารผลการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลัง              ปี ค.ศ. 2015

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

                   1. อนุมัติให้คณะผู้แทนไทยซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะร่วมรับรองเอกสาร “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development”

                   2. ให้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่สำคัญในการเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นกลไกหลักในระดับประเทศในการขับเคลื่อนให้หน่วยงานไทยนำวาระการพัฒนา 2030               ไปปฏิบัติ ติดตามผลการดำเนินงานรวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ภายหลังจากที่ได้มีการรับรองเอกสารผลการประชุมฯ แล้ว

                   สาระสำคัญของร่างเอกสาร “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development” มีรายละเอียด ดังนี้

                   1. วัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งขจัดความยากจนในทุกมิติและทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเน้นการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น 3 เสาหลัก ของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกไม่ได้

                   2. ร่างเอกสารประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่

                       2.1 อารัมภบท (Preamble) เป็นการสื่อสารวาระการพัฒนา 2030 กับประชาชนอย่างสั้นและกระชับ โดยกล่าวถึงการขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักการ 5 Ps ได้แก่ ประชาชน (People) โลก (Planet) ความมั่งคั่ง (Prosperity) สันติภาพ (Peace) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership)

                       2.2 ปฏิญญา (Declaration) กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของวาระการพัฒนา 2030 และแสดง

ความมุ่งมั่นในการขจัดความยากจนในทุกมิติและทุกรูปแบบบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ

                       2.3 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าประสงค์ (Sustainable Development Goals and Targets – SDGs & Targets) ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย (goals) 17 ข้อ และเป้าประสงค์ (targets) 169 ข้อ ครอบคลุม 3 เสาหลัก ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

                       2.4 กลไกการดำเนินงาน (Means of Implementation – Mol) และหุ้นส่วนระดับโลก (Global Partnership) เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา โดยครอบคลุมการระดมทุนจากภาครัฐภายในประเทศ การระดมทุนจากภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ การให้ความช่วยเหลือเพื่อ            การพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance – ODA) การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

                       2.5 การติดตามและทบทวนผล (Follow-up and review) เน้นการติดตามความก้าวหน้า ความสำเร็จ ความท้าทาย และช่องว่างในการดำเนินงานอย่างครอบคลุมเป็นประจำในทุกระดับ (ก) ระดับชาติ โดยส่งเสริมให้ใช้เครื่องมือทางนโยบายที่มีอยู่แล้ว อาทิ แผนพัฒนาแห่งชาติ รวมถึงการติดตามผลในระดับท้องถิ่นด้วย  (ข) ระดับภูมิภาค โดยให้ประเทศในภูมิภาคหารือร่วมกันและระบุถึงกลไกที่เหมาะสม โดยอาจใช้กลไกที่มีอยู่แล้วในภูมิภาค และ (ค) ระดับโลก โดยใช้เวทีการหารือทางการเมืองระดับสูง (High-Level Political Forum – HLFP) ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมในกรอบสมัชชาสหประชาชาติเป็นเวทีหลักซึ่งมีการประชุมทุกปี และจะมี               การประชุมติดตามและทบทวนผลระดับโลกในระดับผู้นำครั้งแรกในปี ค.ศ. 2019 นอกจากนี้เอกสารฯ เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถของระบบการจัดเก็บสถิติในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อส่งเสริมการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

11. เรื่อง แผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับปี 2559 – 2561

                   คณะรัฐมนตรีมีมติความเห็นชอบแผนการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับปี 2559 – 2561 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

                   สาระสำคัญของประเด็นการหารือตามแผนการหารือระหว่าง กต. แห่งราชอาณาจักรไทย กับ กต. แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ฉบับปี 2559 – 2561 มีรายละเอียดดังนี้

                   1. ความร่วมมือระดับทวิภาคี

                   2. ความร่วมมือระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิก ในด้านการเมืองความมั่นคนงและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

                   3. ประเด็นซึ่งเป็นข้อห่วงกังวลหรือเป็นที่สนใจร่วมกันในกรอบพหุภาคีต่าง ๆ อาทิ สหประชาชาติ และเวทีระหว่างประเทศอื่น ๆ

                   4. ความร่วมมือระดับทวิภาคีในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ อาชญากรรมข้ามชาติ และการผลิตและการลักลอบค้ายาเสพติด

                   5. พัฒนาการในปัจจุบันในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริการเหนือ

                   6. กิจการในยุโรป

                   7. การสนับสนุนข้อสนเทศสำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศและประชาสัมพันธ์

                   8. การกงสุล

                   ทั้งนี้ แผนการหารือดังกล่าวเป็นเอกสารที่แสดงเจตจำนงของทั้งสองฝ่ายในการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับรัสเซียให้มีพลวัตมากยิ่งขึ้น โดยมิได้มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่เป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างกันในลักษณะที่เป็นสนธิสัญญาตามกฎกระทรวงระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างแผนการหารือนี้จึงไม่ใช่สนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

 

12. เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อการขยายระยะเวลาสำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญา             กรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการพัฒนาภายใต้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS)  (พ.ศ. 2557-2558)

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

  1. การขยายระยะเวลาของแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่ม

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่  1. ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน  2. ด้านการศึกษา               3. ด้านการเงิน  4. ด้านประเด็นสาธารณสุขโลกและโรคติดต่อ 5. ด้านการจัดการภัยธรรมชาติ 6. ด้านความเชื่อมโยงในอาเซียน  7. ด้านการค้าและเศรษฐกิจ  8. ด้านความมั่นคงทางอาหาร 9. กลไกและเงินในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ

                   ทั้งนี้  แผนปฏิบัติการฯ เป็นเพียงแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาของประเทศที่            เข้าร่วมการประชุม EAS เพื่อปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมฯ โดยสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ  และเป็นไปตามกฎหมายภายในระเบียบข้อบังคับ และนโยบายของแต่ละประเทศ โดยมิได้ก่อให้เกิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

 

13. เรื่อง ขออนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)  เสนอ ดังนี้

1.   อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

(Memorandum of Understanding on Cooperation in the Field of Toursim of Wellness)  ระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย  ทั้งนี้ หากก่อนลงนามมีความจะเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ กก. พิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ  แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี            เพื่อพิจารณาอีกครั้ง 

2.   อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ         

(โดยระบุตำแหน่ง)

                   บันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับ

ทวิภาคีระหว่างไทยและโคลอมเบีย   เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและกระจายสู่การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ  โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้

1.   ขอบเขต  ครอบคลุมถึงการส่งเสริมพัฒนาและเพิ่มความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ภายใต้ขอบเขตแห่งกฎหมายของทั้งสองประเทศบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันและเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

2.   ประเด็นความร่วมมือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการตลาด  การปรับปรุงคุณภาพ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิจัยและการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการประสานงานและความร่วมมือ

3.   การดำเนินการ คู่ภาคีจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้

โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการร่วมและกำหนดการประชุมจะเป็นไปตามข้อตกลงของคู่ภาคี

4.   ผลบังคับใช้และการสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี และจะได้รับ          

การต่ออายุโดยอัตโนมัติคราวละ 5 ปี จนกว่าภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางการทูต            แสดงเจตนาที่จะบอกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่              วันที่ลงนามเป็นต้นไป  ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะรวมการยกระดับและการพัฒนาความร่วมมือระหว่างคู่ภาคี และไม่ก่อให้เกิดเป็นความตกลงระหว่างประเทศ อันผูกพันรัฐคู่ภาคีตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อกำหนดของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะไม่ถูกตีความและบังคับใช้อย่างสิทธิทางกฎหมายหรือภาระผูกพันต่อรัฐคู่ภาคี

 




แต่งตั้ง

 

14. เรื่อง  การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ  การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต่อไปอีก 1 ปี เป็นครั้งที่ 2       ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559

 

15. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                 (กระทรวงแรงงาน)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายรักษ์ศักดิ์  โชติชัยสถิต                 รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ  (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ)

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์

ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป 

 

16. เรื่อง การมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ มอบหมาย                        รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นกรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

17. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี      ตันตราภรณ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

 

18. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง  นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ประธานกรรมการ ก.ล.ต.)                 ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

 

 

 

19. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง  นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล และนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป

 

20. เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง  นายสุทธิพล ทวีชัยการ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.)                  ตามบทบัญญัติในมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. คปภ. ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

 

21. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จำนวน 5 คน ตามมาตรา 13 (1) และ (3) แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2549 ดังนี้ 1.  นายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์                     ประธานกรรมการ 2. นายพิชัย ถิ่นสันติสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3. นางสาวลักขณา ลีละยุทธโยธิน                  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นายสัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ แต่งตั้งวันที่ 15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

22. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 246 /2558 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี            ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี (เพิ่มเติม)

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 246 /2558 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี (เพิ่มเติม)

                   ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 216/2558 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2558 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี นั้น

                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้ รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในการดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี

                    ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป 

                    สั่ง ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

 

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเดิมได้รับอนุญาตให้ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

24. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้

                   1. นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำรงตำแหน่ง                 อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน

                   2. นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ดำรงตำแหน่ง              อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                   3. นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง               อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

                   4. นายวิทัศน์ เตชะบุญ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                    รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและตำแหน่งที่จะว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่      วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนผู้ที่จะเกษียณอายุราชการ และย้ายต่อเนื่อง จำนวน 10 ราย ดังนี้

                   1. นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท โอนไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง

                   2. นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โอนไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง

                   3. นายพงษ์ศักดิ์ สมใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง

                   4. นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวง ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

                   5. นายชูศักดิ์ เกวี อธิบดีกรมทางหลวง โอนไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

                   6. นายสิรภพ จึงสมาน ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

                   7. นายสมศักดิ์ ห่มม่วง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

                   8. นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท

                   9. นายสนิท พรหมวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง โอนไปดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการขนส่งทางบก

                   10. นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า โอนไปดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการบินพลเรือน

                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้

                   1. นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   2. นายนิวัติชัย คัมภีร์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไปเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

 

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายโสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

28. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (กระทรวงพลังงาน)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง พลเอก ธนา      วิทยวิโรจน์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงศึกษาธิการ)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง พันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                    15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

30. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง พลโท นาวิน                ดำริกาญจน์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

31. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นางสาวพรทิพย์       วิริยานนท์ และ นายธราธร รัตนนฤมิตศร ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

 

 

*********************************************************

 


  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | วันที่ประกาศ :16/09/2558



© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
DSDW Information Center
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100