ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 8 กันยายน 2558

http://www.thaigov.go.th

 

                   วันนี้ (8 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1

ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

?                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี               ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี  สรุปสาระสำคัญดังนี้

 




กฎหมาย

 

                    1.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ                                        (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    2.       เรื่อง     ร่างกฎหมายกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้                                          อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่

                                        พ.ศ. ....

                    3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง                                         หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท จำนวน 147 ฉบับ พ.ศ. ....

 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

                    4.       เรื่อง     กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรก

                    5.       เรื่อง     การเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์                                      ชุมนุมทางการเมือง ปี 2556 – 2557

                    6.       เรื่อง     ภาวะสังคมไตรมาสที่สองของปี 2558

                    7.       เรื่อง     การเสนอหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และคู่มือการดำเนินงานตามาตรการส่งเสริมความ                               เป็นอยู่ระดับตำบล

                   8.   เรื่อง         มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ

                                       ขนาดย่อม (SMEs)  ในระยะเร่งด่วน

                      




ต่างประเทศ

 

                    9.       เรื่อง     ขออนุมัติการจัดทำและลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย                               และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยการก่อสร้างสะพาน                                              มิตรภาพ ไทย – เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2

                    10.      เรื่อง     การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม                                           แม่น้ำโขง  6 ประเทศ (GMS)  ครั้งที่ 20 และร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี                                       แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6  ประเทศ (GMS)                                       ครั้งที่ 20 ณ กรุงเนปยิดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

                    11.      เรื่อง     รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย                                        ฉบับแก้ไข (Thailand’s Revised National Ivory Action Plan-NIAP)  เสนอ                                ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 66

 

 




แต่งตั้ง

 

                   12.      เรื่อง     การแต่งข้าราชการการเมือง(กระทรวงพาณิชย์)

                   13.     เรื่อง     การแต่งตั้งรองประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า

                   14.     เรื่อง     แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

                    15.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง                                                          กระทรวงมหาดไทย

                   16.     เรื่อง     แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                   17.     เรื่อง     แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

                   18.     เรื่อง     การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

                   19.     เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

                   20.     เรื่อง     ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   21.     เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ                                               ต่างประเทศ (กระทรวงการต่างประเทศ)

                   22.     เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)

                   23.     เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)

                   24.     เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ                                                   กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ                                   และการสื่อสาร)

                   25.     เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)

                   26.     เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

                   27.     เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง                                                   ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    28.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    29.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงพาณิชย์)

                    30.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของกระทรวงการคลัง

                    31.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

                    32.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง

                    33.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิและขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการพ้นจากราชการเพราะ                                        ครบเกษียณอายุราชการ (กระทรวงมหาดไทย)

                    34.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงอุตสาหกรรม)

                    35.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงเกษตร                                         และสหกรณ์)

                    36.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 1                                                   (กระทรวงมหาดไทย)

                    37.      เรื่อง     ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร                                               ระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

                    38.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงพาณิชย์)

                    39.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงยุติธรรม)

                    40.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                           (กระทรวงศึกษาธิการ)

                    41.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                           (กระทรวงศึกษาธิการ)

                    42.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                           (กระทรวงศึกษาธิการ)

                   43.      เรื่อง     การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งของเลขาธิการ                                           คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ)

                    44.      เรื่อง     ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

                    45.      เรื่อง     การรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่ง                                      ที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนัก                                          นายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    46.      เรื่อง     คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2558 เรื่อง ให้ข้าราชการกลับไปปฏิบัติราชการใน                                            ตำแหน่งเดิม (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

                    47.      เรื่อง     คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 234/2558 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รอง                                       นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธาน                                            กรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตาม                                            กฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

 

*******************

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

5.  เรื่อง  การเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ปี 2556 – 2557

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2556 –2557 เสนอ ดังนี้

                   1. กรณีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2548 – 2553 ในส่วนที่ยังคงค้างการช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงิน ตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 วันที่ 6 มีนาคม 2555 และวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เห็นควรรอจนกว่าคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะถึงที่สุด

                   2. เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมแก่                ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2556 – 2557 (ชีวิตและร่างกาย)

                   3. อนุมัติให้ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ดังนี้

                             3.1 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเยียวยา วงเงิน 120,000,000 บาท โดยให้                กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือและเบิกจ่ายงบประมาณในการจ่ายเงินเยียวยา เงินฟื้นฟูสมรรถภาพและเงินยังชีพ และสำนักงานปลัดกระทวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือและเบิกจ่ายงบประมาณในการจ่ายเงินทุนการศึกษาแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาภายใต้หลักเกณฑ์ สำหรับในปีงบประมาณต่อไปขอให้ตั้งงบประมาณปกติในการเยียวยา

                             3.2 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของคณะกรรมการอำนวยการฯ คณะอนุกรรมการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สป.ศธ. และ สปน. วงเงิน 1,000,000 บาท โดยให้ สปน. เป็นหน่วยเบิกจ่ายงบประมาณ

                   การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2556 – 2557 (ชีวิตและร่างกาย) มีอัตราการช่วยเหลือ ดังนี้ 1) เสียชีวิตรายละ 400,000 บาท 2) ทุพพลภาพและต้องฟื้นฟูสมรรถภาพรายละ 400,000 บาท               3) ทุพพลภาพรายละ 200,000 บาท 4) บาดเจ็บสาหัส รายละ 100,000 บาท 5) บาดเจ็บรายละ 60,000 บาท                6) บาดเจ็บเล็กน้อยรายละ 20,000 บาท

          นอกจากนี้ ยังมีการช่วยเหลือเป็นเงินยังชีพรายเดือนและเงินทุนการศึกษารายปีให้แก่บุตรของผู้เสียชีวิตและผู้ทุพพลภาพที่กำลังศึกษาอยู่ ทั้งนี้ ให้นำจำนวนเงินช่วยเหลือชดเชยอื่น ๆ จากภาครัฐทั้งหมด                   อันเนื่องมาจากมูลเหตุหรือความเสียหายเช่นเดียวกันที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาได้รับไปแล้ว (ถ้ามี) มาหักออกจากจำนวนเงินเยียวยาที่จะได้รับ ซึ่งคาดว่าใช้งบประมาณในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 862 ราย (เสียชีวิต 28 ราย บาดเจ็บ 834 ราย) จำนวน 120,000,000 บาท และมอบหมายให้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ      กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ สป.ศธ. เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับการเยียวยาในด้านอื่น ๆ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเยียวยาต่อไปตามอำนาจหน้าที่

 

6. เรื่อง  ภาวะสังคมไตรมาสที่สองของปี 2558

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไตรมาสที่สองของปี 2558 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงาน  โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                   1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญไตรมาสที่สองของปี 2558

1.1   การจ้างงานลดลง อัตราการว่างงานต่ำ ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นช้าในไตรมาสสองของปี 2558 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37,751,800 คนลดลงร้อยละ 0.2 จากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้เป็นการจ้างงานลดลง  ในภาคเกษตรร้อยละ 5.8 เป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้งทำให้กิจกรรมทางการเกษตรลดลง  นอกจากนี้ภาวะฝนแล้งส่งผลให้เกษตรกรต้องเลื่อนฤดูกาลเพาะปลูกจากช่วงเดือนพฤษภาคมไปเป็นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมทำให้แรงงานเกษตร 315,848 คนเป็นแรงงานรอฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ซึ่งไม่นับเป็นผู้ว่างงาน อย่างไรก็ตามการจ้างงานภาคนอกเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสเดียวกันปีที่แล้วและสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคนอกเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ขณะที่อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 0.88 ลดลงจากร้อยละ 1.0 ในช่วงเดียวกันปีที่แล้วแรงงานมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย (ทุกสถานภาพ) 43.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ค่าจ้าง  แรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นที่หักด้วยเงินเฟ้อแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผลิตภาพแรงงานต่อคนเพิ่มขึ้น                  ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 3 มาตรการ ได้แก่ การให้เลื่อนเวลาการเพาะปลูก การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพืชที่เพาะปลูก และร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการจัดหาทุนเพื่อปรับเปลี่ยนไปทำเกษตรผสมผสาน นอกจากนั้น คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการสนับสนุนงบประมาณดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนจำนวน 6.54 พันล้านบาท

1.2   หนี้สินครัวเรือนชะลอตัวลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกปี 2558 หนี้สินครัวเรือนเท่ากับ10,570,142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 79.9 สำหรับไตรมาสสองของ                    ปี 2558 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลง
เมื่อเทียบกับร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.7 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ส่วนการให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย การซื้อที่ดิน และการบริโภคอื่นยังคงเพิ่มขึ้น การผิดนัดชำระหนี้ทั้งสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเชื่อภายใต้การกำกับ และบัตรเครดิตยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5  22.8 และ 28.0 ตามลำดับ และสัดส่วนหนี้เสียต่อยอดคงค้างของสินเชื่อเหล่านี้ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน โดยมีความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ได้แก่ (1) การดำเนินธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ โดยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม-1 กรกฎาคม 2558 มีผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตดำเนินธุรกิจนาโนไฟแนนซ์แล้ว 9 ราย และเปิดให้บริการแล้ว 3 ราย และ (2) การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู 3 คณะ คือ คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนส่วนราชการและเขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู คณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามลูกหนี้ค้างชำระ เพื่อทำหน้าที่กำกับ ติดตามหนี้ค้างชำระ ช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงได้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การกู้ยืมจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูใหม่ เพิ่มวงเงินกู้ยืมของครูจากเดิมรายละ 200
,000 บาท เป็น 300,000 บาท และดำเนินการร่วมกับธนาคาร           ออมสินในการปรับโครงสร้างหนี้ครู

/2. แนวโน้ม...

 
1.3     คุณภาพการศึกษาเป็นปัญหาเร่งด่วน การประเมินผลการสอบ ONET ในปี 2553-2557 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักไม่ถึงร้อยละ 50 ค่าเฉลี่ยวิชาหลัก ม.6 ต่ำสุด อยู่ระหว่าง 29.52-37.31 และนักเรียนในเขตกรุงเทพฯ ยังคงมีคะแนนเฉลี่ยในทุกระดับสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในเขตภูมิภาค ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังมีคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา
เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบโดยมีประเด็นที่เร่งรัดผลักดันได้แก่ การ
ปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปรับตารางการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่น การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง  การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยคัดเลือกครูจากโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงและโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโรงเรียนต้นทางในการถ่ายทอดสดการสอนไปยังโรงเรียนปลายทาง การส่งเสริม/เพิ่มบทบาทของสถานประกอบการต่างๆ ในการเสนอแนะเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบการสรรหาและพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ

1.4     ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ใน            ไตรมาสสองของปี 2558 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 8.2 โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า และต้องเฝ้าระวังโรคที่มักระบาดในช่วงฤดูฝน การระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์สอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์ทั่วโลกจะยุติ รวมทั้งยังต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายเนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

1.5     ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา ในไตรมาสสองของปี 2558ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีมูลค่า 33,971 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ3.3 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่มีมูลค่า 15,212 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 2.3และเมื่อพิจารณาอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32.2 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 32.3 ในปี 2557 แม้ว่ากลุ่มเยาวชนจะมีอัตรา           การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงจากปี 2556 หากยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเพราะเยาวชนยังสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่ายเนื่องจากมีสถานบริการและร้านขายปลีกกระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณใกล้สถานศึกษาหรือหอพัก และสถานบริการหรือผู้ขายยินยอมให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีเข้าไปใช้บริการและซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้ออกคำสั่งเรื่อง “มาตรการในการควบคุมสถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ” เพื่อลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเด็ดขาด

1.6     ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยรวมดีขึ้น สถานการณ์ยาเสพติดดีขึ้นจากการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่คดีทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นคดีอาญารวมในไตรมาสสองของปี 2558 ลดลงร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ขณะที่คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 คดีชีวิตร่างกายและเพศเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 คดียาเสพติดยังคงมีสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 77.3 ของคดีอาญารวม โดยลดลงร้อยละ 37.3 เป็นผลจากการที่รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและอย่างจริงจัง รวมทั้งเน้นการสกัดกั้นจุดเสี่ยงและจุดตัดตามแนวชายแดนป้องกันไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ชั้นใน

1.7     การสร้างพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยต่อคนเดินเท้าเพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรทางบก แม้สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกในไตรมาสสองของปี 2558 ลดลงร้อยละ 3.4
มีผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2557 ขณะที่อุบัติเหตุรถยนต์ชนคนเดินเท้าเสียชีวิตประมาณร้อยละ 15 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพถนนมีปัจจัยเสี่ยงต่อคนเดินถนนค่อนข้างมากโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนที่ไม่มีเกาะกลาง และคนเดินข้ามถนนมักถูกรถชนในช่วงทางตรงและทางแยก ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงและสูญเสียเพิ่มขึ้นมาก

1.8     ประเทศไทยยังคงมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังและต่อเนื่องต่อไป ถึงแม้ระยะเวลาที่ผ่านมาไทยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังคงถูกจัดอันดับอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการประเมินการดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2557-31 มีนาคม 2558 รัฐบาลไทยยังคงดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังเพื่อความมั่นคงและมนุษยธรรมภายใต้หลักการมาตรฐานสากล 5P (Policy, Prosecution, Protection, Prevention, Partnership) ด้วยการเติมเต็มในเรื่องการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดกลับมาทำซ้ำอีก การยกระดับการประชาสัมพันธ์ปัญหาการค้ามนุษย์ต่อสาธารณะทั้งในด้านปัญหาและแนวทางการป้องกัน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข เจ้าหน้าที่ของรัฐควรมีความจริงจังไม่ละเว้นในการปราบปราม ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพล

1.9     การคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับไขมันทรานส์ยังเป็นเรื่องที่ต้องผลักดัน เนื่องจากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและตายที่สำคัญ ในหลายประเทศได้มีมาตรการ  เพื่อลดการใช้ไขมันชนิดนี้ในการปรุงอาหาร อาทิ เดนมาร์ก สหรัฐอเมริกาฯลฯ สำหรับประเทศไทยพบว่ามีอาหารหลายชนิดที่มีไขมันทรานส์ที่ค่อนข้างสูง อาทิ โดนัท เวเฟอร์ ครัวซองค์ มาการีนฯลฯ แต่ประเทศไทยยังไม่มีข้อบังคับในการแสดงไขมันทรานส์บนฉลากซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดให้มีการแสดงฉลาก รวมทั้งเร่งรณรงค์ให้ความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดให้กับผู้บริโภค

   2. บทความพิเศษเรื่อง “การทำงานของผู้สูงอายุ: ความจำเป็นที่ต้องผลักดัน

2.1     การเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยเพิ่มจากร้อยละ 6.8 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 14.9 ในปี 2557 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32.1 ในปี 2583 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะพึ่งพิงที่เพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาบัญชีกระแสการโอนประชาชาติในปี 2583 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุจะทำให้การขาดดุลรายได้เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุขาดความมั่นคงด้านรายได้เนื่องจากเงินออมไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในระยะเวลาหลังชีวิตการทำงานที่ยาวนานขึ้น แหล่งรายได้จากบุตรหลาน
มีแนวโน้มลดลง ภาวะขาดแคลนแรงงานขณะที่การพึ่งพิงแรงงานเพื่อนบ้านมีข้อจำกัดจากการเข้าสู่สังคมสูงวัยในเวลาใกล้เคียงกัน รวมทั้งภาระการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายในโครงการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น

2.2     ปี 2557 มีผู้สูงอายุทำงาน 3.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 38.4 ของผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 2 ใน 3 ทำงานธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ร้อยละ 90 เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนลูกจ้างเอกชน
ที่ลดลงก่อนอายุ 60 ปี โดยอยู่ในภาคเกษตรฯ ร้อยละ 63.8 ขณะที่แรงงานสูงอายุในระบบกระจายอยู่ในภาคเกษตร การผลิตอุตสาหกรรม และค้าส่งค้าปลีก โดยอาชีพและสาขาที่ผู้สูงอายุทำอยู่จะสอดคล้องกับสาขาที่มีการขาดแคลน ด้านความต้องการแรงงานพบว่าภาคเอกชนรับรู้การเป็นสังคมสูงวัยแต่ยังขาดความตระหนักถึงผลกระทบและการเตรียมการ โดยสาขาโรงแรมภัตตาคารและการขนส่งมีการจ้างแรงงานหลังครบกำหนดอายุการทำงานมากที่สุด              ด้านอุปทานแรงงานส่วนใหญ่ต้องการทำงานถึงอายุ 60 ปี เนื่องจากภาคเอกชนส่วนใหญ่จะกำหนดอายุครบกำหนดการทำงานที่อายุ 55 ปี รวมถึงทัศนคติที่เห็นว่าอายุเกิน 60 ปีเป็นผู้สูงอายุที่ควรพักผ่อน แรงงานร้อยละ 60 ไม่แน่ใจว่าควรมีการขยายอายุครบกำหนดการทำงานหรือไม่ เนื่องจากยังขาดความชัดเจนและเกรงจะกระทบสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากประกันสังคม สำหรับการส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้เป็นการจ้างงานตามความสมัครใจ มีความยืดหยุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนจากรัฐในการเพิ่มแรงจูงใจ การสร้างกลไกเพื่อสนับสนุน ตลอดจนการให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบและความจำเป็นของการทำงานของผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์จากต่างประเทศที่เน้นการเพิ่มแรงจูงใจ การเปลี่ยนทัศนคติ และการพยายามเพิ่ม                           การจ้างงาน

3.     ประเด็นสังคมที่ต้องเฝ้าระวังในระยะต่อไป มีดังนี้

3.1     ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแรงงานได้แก่ รายได้ของแรงงานลดลงทั้งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบทั้งจากปริมาณผลผลิตที่ลดลงและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการลดชั่วโมงการทำงานลงของผู้ประกอบการ  การเลิกจ้างแรงงานจากผลกระทบการส่งออกที่ยังมีแนวโน้มลดลง และการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

3.2     การลดปัญหาอาชญากรรมยังคงต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเฉียบขาดในการกดดัน ควบคุม ป้องกันและปราบปราม ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกทางสังคม

3.3     การสร้างความปลอดภัยในการป้องกันหรือคุ้มครองการบาดเจ็บและการสูญเสีย              ในกลุ่มคนเดินเท้าโดยการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้รถใช้ถนน และการปฏิบัติตามกฎจราจร การกำหนดความเร็วให้เหมาะสมกับประเภทของถนน

3.4     แนวทางการส่งเสริมการทำงานผู้สูงอายุโดย (1) การใช้มาตรการจูงใจการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานสูงอายุขยายเวลาการทำงาน อาทิ การสร้างงานที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ การลดการออกจากงานก่อนครบกำหนด การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ และการทบทวนเกณฑ์และผลประโยชน์ที่แรงงานจะได้รับจากการครบกำหนดการทำงานด้านผู้ประกอบการเพื่อจูงใจให้เกิดการจ้างงาน อาทิการสร้างความตระหนักของผลกระทบจากเข้าสู่สังคมสูงวัยการกำหนดงานเฉพาะที่แรงงานสูงอายุจะได้รับการพิจารณาพิเศษ การปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานของผู้สูงอายุ (2) การลดอุปสรรคต่อการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยการสร้างทัศนคติและค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับผู้สูงอายุ การทำงานและการออมการปรับเงื่อนไขการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ทำงาน การเดินทางและใช้ชีวิตให้เหมาะสม (3) มาตรการสนับสนุน โดยการปรับปรุงกฎหมายการไม่เลือกปฏิบัติกับลูกจ้างสูงอายุ การสร้างระบบคัดกรองและจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการทำงาน การพัฒนาระบบประเมินและการกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับสมรรถนะการให้มีศูนย์บริการการจัดหางานให้กับผู้สูงอายุ และ (4) การสร้างระบบการเงินการคลังมหภาค เพื่อพัฒนาระบบบำเหน็จบำนาญและการออมให้เอื้อต่อส่งเสริมให้เกิดการขยายอายุการทำงานรวมทั้งมีกลไกในการจัดการการพิจารณานโยบายและมาตรการที่ครอบคลุมบำเหน็จบำนาญทุกกลุ่มเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มต่างๆและ (5) การเตรียมความพร้อมคนไทยเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่า โดยเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของคนไทยตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุเพื่อให้คนรุ่นใหม่พร้อมที่จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าและมีสุขภาพแข็งแรง การส่งเสริมการพัฒนาทักษะและอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการทำงานของผู้สูงอายุ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเข้าสู่สังคมสูงวัยและผลกระทบในด้านต่างๆ เพื่อให้สังคมเกิดความพร้อมในทุกมิติ

 




ต่างประเทศ

 

32. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 8 ราย ดังนี้

                   1. พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต  ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง                  (รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)

                   2. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์  เกิดสุข  ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)

                   3. พลเรือเอก เรืองทิพย์ เทียนทอง ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง                    (รองนายกรัฐมนตรี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย) 

                   4. นาวาเอก รณัชย์ เทพวัลย์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเรือเอก ณรงค์                พิพัฒนาศัย)

                   5. นายนพปฎล สุนทรนนท์ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง                        (รองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)

                   6. พลอากาศโท บรรจง   คลายสูตร์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก             ประจิน จั่นตอง)

                   7. พลโทหญิง ดวงสุดา ขยันระงับพาล  ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

                   8. นาวาโท สายชล ช้างน้อย ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี                 

 

47. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 234/2558 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 234/2558 เรื่อง  มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ

                    ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 120/2557 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557 มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  คำสั่งที่ 132/2557 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คำสั่งที่ 34/2558 ลงวันที่ 30 มกราคม 2558 มอบหมายและมอบอำนาจให้                  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ  รองประธานกรรมการ และกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ พ.ศ. 2552 และคำสั่งที่ 184/2558  ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2558  ปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น

                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) .. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550  จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2557 ลงวันที่ 30 กันยายน 2557  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 132/2557 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2557  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี   ที่ 34/2558 ลงวันที่ 30 มกราคม 2558  และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 184/2558 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2558  และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้

                                 

ส่วนที่ 1

                   1.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ)

                         1.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                        ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

1.1.1      คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ     

                                  1.1.2      คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                                  1.1.3      คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

1.1.4      คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

1.1.5      คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

1.1.6      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

1.1.7      คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

                                  1.1.8      คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                         1.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ               ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                                  1.2.1      รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 

                                  1.2.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ

                         1.3    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ               ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

1.3.1      คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค

1.3.2      คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง             ของชาติ

                                  1.3.3      คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ

1.3.4      คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ

1.3.5      คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า

1.3.6      คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

1.3.7      คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ

1.3.8      คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ

1.3.9      คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ

1.3.10    คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1.3.11    คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอบรมอาชีพแห่งชาติ   

1.3.12    คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย 

                         1.4    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

-  รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

 

ส่วนที่ 2

                   2.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร)

                         2.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

2.1.1      คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ            

2.1.2      คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ 

2.1.3      คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  

                                  2.1.4      คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

                                  2.1.5      คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

                         2.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                  - คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

 

ส่วนที่ 3

                   3.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย)

                         3.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                     ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

3.1.1      คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ

              3.1.2      คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

3.1.3      คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ

3.1.4      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

                                  3.1.5      คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

                                  3.1.6      คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ

                                  3.1.7      คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ

                                  3.1.8      คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

                                  3.1.9      คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

                                  3.1.10    คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 

 

 

 

                         3.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ               ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                                  - รองประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

                         3.3    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                    ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                  3.3.1      คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ

3.3.2      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ

3.3.3      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ

3.3.4      คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ

                                  3.3.5      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม

3.3.6      คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์  

3.3.7      คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

 

ส่วนที่ 4

                   4.  รองนายกรัฐมนตรี  (พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง)

                         4.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานในคณะกรรมการต่าง ๆ              ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

4.1.1      ประธานสภาวิจัยแห่งชาติ  

4.1.2      สภานายกสภาลูกเสือไทย   

                         4.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                 ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                  4.2.1      คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

                                  4.2.2      คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ

                                  4.2.3      คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ

                                  4.2.4      คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

                                  4.2.5      คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

                                  4.2.6      คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

                                  4.2.7      คณะกรรมการนโยบายกองทุนตั้งตัวได้

 

ส่วนที่ 5

                   5.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์)

                         5.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                  ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้

5.1.1      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

              5.1.2      คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

                                  5.1.3      คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี

5.1.4      คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

5.1.5      คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

                                  5.1.6      คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ

                                  5.1.7      คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

              5.1.8      คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ

                         5.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                 ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.2.1      คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ

                                  5.2.2      คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ

5.2.3      คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน

5.2.4      คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ

5.2.5      คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ

5.2.6      คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน

5.2.7      คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

5.2.8      คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร

5.2.9      คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

5.2.10    คณะกรรมการว่าด้วยการประสานงานในการบังคับใช้กฎหมาย  เพื่อป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

5.2.11    คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ

5.2.12    คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน

 

                         5.3    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ                    ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

5.3.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ

                                  5.3.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ

                                  5.3.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ

                                  5.3.4      รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ส่วนที่ 6

                   6.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายวิษณุ  เครืองาม)

                         6.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และรองประธานสภาในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

6.1.1      คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

              6.1.2      คณะกรรมการกฤษฎีกา

                                  6.1.3      คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

6.1.4      คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

6.1.5      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

                                  6.1.6      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

                                  6.1.7      คณะกรรมการคดีพิเศษ

              6.1.8      คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

  

                         6.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                                  6.2.1      รองประธานสภาวิจัยแห่งชาติ

                                  6.2.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

                                  6.2.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

6.2.4      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                                  6.2.5      อุปนายกสภาลูกเสือไทย

                         6.3    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                    ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

6.3.1      คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

                                  6.3.2      คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

6.3.3      คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

6.3.4      คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

6.3.5      คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ

6.3.6      คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพ              นิรนาม

                         6.4    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ             ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                          -  รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ

                                     บริการของประเทศ

                         6.5    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการ            ต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                  -  กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน

 

ส่วนที่ 7

                   7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (หม่อมหลวงปนัดดา  ดิศกุล)

                         7.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                        -  คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค     

                         7.2    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ                   ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

7.2.1    คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี

7.2.2    คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ

                         7.3    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ  ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                           7.3.1    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

                                           7.3.2    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

7.3.3  รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

  7.3.4  รองประธานกรรมการในคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ

7.3.5    รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ

                         7.4    การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

-         กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

ส่วนที่ 8

                   8.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายสุวพันธุ์  ตันยุวรรธนะ)

                         8.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                        8.1.1    คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ   

                        8.1.2    คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

                         8.2  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                        -  รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

                         8.3  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้

                        -  กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

                         8.4  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ      

ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                                8.4.1     คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

                              8.4.2     คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย  

                         8.5  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ                       ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                              8.5.1     รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม

                              8.5.2     รองประธานกรรมการคนที่สองในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

                         8.6  การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้

                              -  กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน

ส่วนที่ 9

                     9.   ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี  ให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ  เครืองาม)  เป็นประธาน

                     10.  เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว  ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน

                     11.  ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้  พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว  หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น  หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน  หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว  โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี  ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน

                   ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

……………………………………………

 


  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | วันที่ประกาศ :09/09/2558



© สงวนลิขสิทธิ์ 2567 ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
DSDW Information Center
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100