ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 1 กันยายน 2558

http://www.thaigov.go.th

                   วันนี้ (1 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล 

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

?                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี    ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี  สรุปสาระสำคัญดังนี้

 




กฎหมาย

                   1.          เรื่อง       ร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                   2.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก และ

                                          ประโยชน์ตอบแทนของศิลปิลแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

3.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางอ้อ

                                      เขตบางพลัด แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ แขวงสามเสนใน

เขตพญาไท และแขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

                   4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. ....

                   5.       เรื่อง     ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดประเภทสถานประกอบกิจการ

                                          โรงงานและยานพาหนะที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปราม

                                          การค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... และ

ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ

 




เศรษฐกิจ – สังคม

                   6.       เรื่อง     แผนประสานสอดคล้องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                   7.       เรื่อง     การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด

                                      ประจำปี 2557 และประจำปี 2558

                   8.       เรื่อง     มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้น

                                      การลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ

                   9.       เรื่อง     การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 ครั้งที่ 3

10.      เรื่อง     มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2558

                   11.      เรื่อง     การเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

 




ต่างประเทศ

                    12.      เรื่อง     การประชุมระดับรัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ  

ภาคทะเล ครั้งที่ 1 (1st Indian Ocean Rim Association Ministerial Blue Economy Conference - BEC)

13.      เรื่อง       ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ไทย-ฮังการี ครั้งที่ 2

14.        เรื่อง     ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง ครั้งที่ 2 (APEC

Structural Reform Ministerial Meeting)

 




แต่งตั้ง

15.      เรื่อง     คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี

รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่ง    สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง  ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและ       มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

                                16.          เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ          

                                                (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                   17.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ส. (กระทรวงยุติธรรม)

                                18.          เรื่อง     การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

                   19.      เรื่อง     การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                   20.      เรื่อง     การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน

                   21.      เรื่อง     ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

                   22.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

                   23.      เรื่อง     แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข)

                   24.      เรื่อง     แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

                   25.      เรื่อง     การรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

                   26.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

*******************

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

 

 

 


 




เศรษฐกิจ – สังคม

 

7. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558

                             คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้

                             1. เห็นชอบบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558

                             2. อนุมัติกรอบการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2557 และประจำปี 2558 ปีละจำนวน 9,480 คน เพื่อจัดสรรให้แก่ผู้มีผลการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดดีเด่นและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

                             หลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปี 2557 และประจำปี 2558 (กรณีพิเศษ)   แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดมีหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้ได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษนอกเหนือโควตาปกติดังนี้

                             1. ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มจากการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ อีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครึ่งปี ทั้งนี้ เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติกับการเลื่อนกรณีพิเศษแล้ว อัตราการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นจะต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ

                             2. ข้าราชการที่ยังคงใช้ระบบขั้นเงินเดือนที่ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ให้เลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษเพิ่มเติมจากที่ได้เลื่อนในกรณีปกติไปแล้วเมื่อรวมแล้วให้ได้ 2 ขั้น ทั้งนี้ กรณีผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้น ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

                             3. สำหรับผู้ที่ไปช่วยราชการด้านยาเสพติดอยู่ที่ส่วนราชการใด ให้ส่วนราชการนั้นเป็นผู้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษที่ได้รับ กรณีที่มีการช่วยราชการด้านยาเสพติดหลายส่วนราชการให้ส่วนราชการที่เจ้าหน้าที่นั้นปฏิบัติหน้าที่นานที่สุดเป็นผู้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษที่ได้รับ

                             4. การเลื่อนเงินเดือนให้ระบุในคำสั่งด้วยว่า “เลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้าน     ยาเสพติด” สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดในโอกาสแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเลื่อนเงินเดือนและ         เงินปรับวุฒิข้าราชการในลำดับต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

 

8. เรื่อง มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับหมู่บ้าน และ        อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 2,478 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และปีต่อ ๆ ไป ตามประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี โดยให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ในรายละเอียดต่อไป

                   2. เห็นชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล และอนุมัติงบประมาณในการดำเนินมาตรการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 36,275 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ        กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ/หรือ 2559 และมอบหมายให้

                             2.1 กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นผู้รับผิดชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล โดยให้ มท. กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข โครงการต่าง ๆ เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการ ทั้งนี้ ให้เปิดเผยข้อมูลโครงการต่อประชาชนและรายงานการประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559

                             2.2 ให้ สงป. เป็นผู้จัดหางบประมาณ พร้อมทั้งติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงานการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณ และเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบความคืบหน้าทุกเดือน

                   3. เห็นชอบมาตรการเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ และอนุมัติงบประมาณ    ในการดำเนินมาตรการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ       พ.ศ. 2559 โดยให้ สงป. จัดสรรงบประมาณ พร้อมทั้งจัดทำระบบการตรวจสอบ ติดตามและรายงานผลการเบิกจ่ายให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน รวมทั้งรายงานผลสำเร็จของโครงการต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559

                   4. ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 (เรื่อง แนวทางการเสนอเรื่องงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี) สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อ    กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในข้อ 2 และข้อ 3 เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยเร็ว

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กค. รายงานว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ต่ำกว่าระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกสินค้าที่หดตัว เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และผลผลิตและราคาพืชผลเกษตรสำคัญต่าง ๆ ปรับลดลง เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง และความ    ผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จึงเห็นควรมีมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ ดังนี้

                   1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย

                             1.1 มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

                                       1.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ ให้สินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนฯ) ระดับ A ระดับ B  กองทุนฯ ละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กองทุนฯ Refinance หนี้เดิม เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานให้กับกองทุนฯ กำหนดวงเงิน 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วย       วงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน 30,000 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้      กองทุนฯ ต้องนำหลักฐานการขอสินเชื่อจากสมาชิกกองทุนฯ เพื่อประกอบการเบิกเงินกู้จากธนาคารออมสินหรือ ธ.ก.ส.

                                      1.1.2 อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลา กำหนดให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.     ให้สินเชื่อกับกองทุนฯ ระยะเวลา 7 ปี นับจากวันลงนามในนิติกรรมสัญญา และดำเนินการทำนิติกรรมสัญญา     ให้แล้วเสร็จภายใน 31 ธันวาคม 2558 โดยมีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยดังนี้

                                                (1) ปีที่ 1-2 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี

                                                (2) ปีที่ 3-7 ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงิน (Financing Cost) บวกด้วยร้อยละ 1.0 ต่อปี

                                                และกำหนดให้กองทุนฯ ให้สินเชื่อกับสมาชิกกองทุนฯ โดยมีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย ดังนี้

                                                (3) ปีที่ 1-2 ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี

                                                (4) ปีที่ 3-7 ในอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราที่ธนาคารเรียกเก็บจากกองทุน         ในข้อ 1.1.2 (2)

                                                โดยมีเงื่อนไขไม่ให้สมาชิกกองทุนฯ Refinance หนี้เดิม

                                      1.1.3 การชดเชย รัฐบาลชดเชยให้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ตามต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสินได้รับชดเชยเท่ากับร้อยละ 2.21 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี และ ธ.ก.ส. ได้รับชดเชยเท่ากับร้อยละ 1.92 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินชดเชยรวมทั้งหมดไม่เกิน 2,478 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. แยกบัญชีโครงการดังกล่าวเป็นบัญชีธุรกรรมตามนโยบายรัฐบาล (Public Service Account : PSA) โดยไม่ได้รับการชดเชยความเสียหายในอนาคต และสามารถนำต้นทุนในการบริหารจัดการบวกกลับเพื่อใช้ในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้

                             1.2  มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล

                                      1.2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอ่อนแอลง โดยมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบลจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน การบริโภค และการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณลงในระดับตำบล

                             1.2.2 สาระสำคัญ

                                      (1) ให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล โดยจัดสรรงบประมาณให้ในระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท (จำนวน 7,255 ตำบล คิดเป็นเงิน 36,275 ล้านบาท) เพื่อดำเนินโครงการที่มีการจ้างแรงงานหรือก่อให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในจังหวัด          ในลักษณะดังต่อไปนี้

                                                (1.1) โครงการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น การซ่อมแซมแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ การซ่อมแซมสถานพยาบาล โรงเรียน ตลาดกลาง และการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งขยะ เป็นต้น

                                                (1.2) โครงการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกพืชใหม่ที่มีตลาด การเปลี่ยนแปลงอาชีพ การสร้างฝาย ปลูกต้นไม้หรือป่าชุมชน เป็นต้น

                                                (1.3) โครงการด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การปรับปรุงซ่อมแซม ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์บริการผู้สูงอายุ เป็นต้น

                                            (2) ให้หมู่บ้านหรือชุมชน จัดทำโครงการ ตามข้อ (1) เสนอต่อคณะกรรมการตำบลรวบรวมและรับรองโครงการเสนอต่อนายอำเภอ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการระดับจังหวัด แล้วเสนอ

 

มท. ดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โครงการที่เสนอจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่

                                                1.2.3 ระยะเวลาดำเนินการ ให้ มท. ดำเนินการและเร่งรัดการใช้จ่ายเงินตามโครงการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558

                                                1.2.4 แหล่งเงินและวงเงินงบประมาณ งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ 2558 และ/หรือ ปีงบประมาณ 2559 วงเงิน 36,275 ล้านบาท โดยให้นับรวมวงเงินงบประมาณตามมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามมติคณะรัฐมนตรี (4 ส.ค. 58) วงเงิน 6,541.09 ล้านบาท และโครงการช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนโดยสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี       (18 ส.ค. 58) วงเงิน 490.60 ล้านบาท

                                                1.2.5 แนวทางการดำเนินการ

                                       (1) ให้ มท. เป็นผู้รับผิดชอบมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล และกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขโครงการต่าง ๆ และกลไกคณะกรรมการในระดับจังหวัด โดยให้มีอำนาจอนุมัติโครงการตามหลักเกณฑ์ที่ มท. กำหนด ทั้งนี้ ระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขโครงการต่าง ๆ ขั้นตอน และคู่มือการดำเนินงาน ให้ มท. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบภายในเวลา 2 สัปดาห์ นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการแล้ว โดยให้ มท. เปิดเผยข้อมูลโครงการเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบได้ และจัดทำรายงานการประเมินผลโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559

                                       (2) เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ/แผนงานและงบประมาณแล้วให้ มท. เร่งรัดให้จังหวัดดำเนินโครงการและมอบให้นายอำเภอเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ

                                       (3) ให้ สงป. เป็นผู้จัดหางบประมาณ พร้อมทั้งติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงานการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณและเสนอรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบความคืบหน้าทุกเดือน

                   2. มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ

                             2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด

                             2.2 สาระสำคัญ วงเงินประมาณ 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

                                      2.2.1 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ยกเว้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนและเงินทุนหมุมเวียน ที่มีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ จัดทำแผนการดำเนินการรายการที่มีลักษณะเป็นรายจ่ายลงทุนที่มีความสำคัญและจำเป็น    ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน วงเงินในการดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง รายการละไม่เกิน 1 ล้านบาท และต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยให้ขอรับการจัดสรรงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

                                      2.2.2 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณไว้แล้ว โดยจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กนี้ โดยเฉพาะรายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้ดำเนินการลงนามในสัญญาและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินมากกว่า 1 ล้านบาท ให้สามารถลงนาม และเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่ไตรมาส 1

 

 

                             2.3 แนวทางดำเนินงาน

                                      2.3.1 การขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

                                                (1) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณ เสนอให้รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบหรือรัฐมนตรีที่กำกับพิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้ สงป. ภายในวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2558

                                                (2) สงป. พิจารณาและนำเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

                                                (3) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ มอบหมายหน่วยงานในพื้นที่เป็นหน่วยงานดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

                                      2.3.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับค่าใช้จ่ายงบกลางฯ รายการที่จะขอรับ    การสนับสนุนต้องมีลักษณะค่าใช้จ่าย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

                                                (1) เป็นรายการซึ่งมีลักษณะเป็นรายจ่ายลงทุน ภายใต้งบรายจ่าย        งบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น

                                                (2) เป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานในประเทศ

                                                (3) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล

                                                (4) มีวงเงินต่อรายการไม่เกิน 1 ล้านบาท

                                                (5) เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการน้ำของประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตของชุมชน

                                                (6) เป็นรายการที่ชุมชนสามารถดูแลรักษาได้และใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง

                                                (7) สถานที่ดำเนินการควรเป็นสถานที่สาธารณะที่มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่ดูแล หรือหากเป็นสถานที่ส่วนบุคคลต้องมีเอกสารยินยอมให้ใช้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษรและมีระยะเวลาที่สอดคล้องกับการเสื่อมของอาคาร/สิ่งก่อสร้างนั้น ๆ

                                                (8) เป็นรายการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับรายการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการ    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 -2559 จากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                                      2.3.3 ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นพิจารณาจัดทำโครงการโดยให้คำนึงถึงการกระจายตัวของโครงการให้ทั่วถึงทุกพื้นที่จัดทำระบบการตรวจสอบ รวมทั้งรายงานผลสำเร็จของโครงการให้ สงป.

                                      2.3.4 ให้ สงป. ติดตามและรายงานผลการเบิกจ่ายให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน และจัดทำรายงานสรุปผลสำเร็จของโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมกราคม 2559

 

10. เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น สามารถดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม

                   แนวทางการดำเนินงานตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีดังนี้

                   1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 4 กันยายน 2558 โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

                             (1) รายจ่ายประจำ ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายไตรมาส โดยในส่วนของการดำเนินงานตามภารกิจยุทธศาสตร์ ภารกิจหน่วยงาน จะต้องเร่งรัดให้เริ่มดำเนินงานและเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ไตรมาสที่ 1

                   สำหรับการฝึกอบรมประชุมสัมมนา ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นหลัก ทั้งนี้ ให้จัดแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยเบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

                             (2) รายจ่ายลงทุน กรณีจัดหาครุภัณฑ์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นจะต้องมีความพร้อมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ผลการสืบราคา และสถานที่/พื้นที่รองรับครุภัณฑ์ รวมถึงการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน กรณีสิ่งก่อสร้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ต้องพิจารณาให้มีความพร้อมเกี่ยวกับข้อกำหนดและขอบเขตของงาน (TOR) แบบรูปรายการ    ประมาณราคา สถานที่/พื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน

                             (3) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้        เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พิจารณาแล้วเสร็จ (วันที่ 14 สิงหาคม 2558) โดยมีเงื่อนไขว่าจะก่อหนี้ผูกพันได้ก็ต่อเมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณแล้ว ทั้งนี้ รายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาสที่ 1 รายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 ยกเว้นรายการที่มีวงเงินเกิน 500 ล้านบาท ให้ก่อหนี้ผูกพันอย่างช้าภายในไตรมาสที่ 2 และรายการครุภัณฑ์ที่มีวงเงินสูง รวมถึงครุภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือจัดหาจากต่างประเทศ จะต้องเร่งรัดก่อหนี้ผูกพันโดยเร็ว

 

 

                   2. เมื่อสำนักงบประมาณเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณและจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นแล้ว ขอให้เร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณ            ที่ดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้นๆ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้โดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามวันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

                   3. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามตัวชี้วัดผลผลิตและตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข    โดยให้จัดส่งผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเป็นรายเดือนและราย     ไตรมาส เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการของแผนงาน/โครงการเป็นรายเดือน และรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายเดือนและรายไตรมาสต่อไป

                   4. ให้หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น และผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามและกำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดให้ปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยเคร่งครัด

                   5. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ที่มีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเร่งรัดการก่อหนี้และ  เบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีโดยเร็ว

                   6. กรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นสมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ ยกเว้นรายการรายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยเสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น พิจารณาและส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาเห็นชอบการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

11. เรื่อง การเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเพิ่มความคล่องตัวในการจัดหาพัสดุของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   กค. รายงานว่า

                   1. กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ในฐานะฝ่ายเลขานุการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้นำเสนอ กวพ.ในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2558 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 ขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติแนบท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เกี่ยวกับการกำหนดวงเงินในวิธีตกลงราคาวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market :      e-market) และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) เป็นการชั่วคราว เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะแผนงาน/โครงการขนาดเล็ก อันส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น รวมถึงมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ               ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย กวพ. ได้อาศัยอำนาจตามระเบียบ   สำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 (2) และข้อ 15 และอาศัยอำนาจตามแนวทางปฏิบัติแนบท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ข้อ 7 (1) ยกเว้นผ่อนผันการกำหนดวงเงินในวิธีตกลงราคาวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding :      e-bidding) ดังนี้

                             1.1 กำหนดวงเงินในการจัดหาพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ    พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากเดิมเป็นดังนี้

                                      1) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง       ซึ่งมีราคาไม่เกิน 500,000 บาท

                                       2) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง       ซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท

                                      3) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง     ซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท

                                      4) การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท       ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดในระเบียบฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 23

                                      5) การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท      ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดในระเบียบฯ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 24

                             1.2 การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท      ซึ่งเดิมกำหนดให้ส่วนราชการต้องดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market :             e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) ให้ส่วนราชการดังกล่าว ดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีสอบราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

                   สำหรับการจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e-market) หรือด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e-bidding) แล้วแต่กรณี

                             1.3 แนวทางการปฏิบัติในข้อ 1.1 และ 1.2 ให้เริ่มถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 สำหรับกระบวนการจัดหาพัสดุที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ 15 กันยายน 2558 และยังไม่แล้วเสร็จ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเดิม ต่อไป

                    2. กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจะประเมินผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

 

 

 

 

 

 




แต่งตั้ง

 

15. เรื่อง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง  ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและ      มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 219 /2558 เรื่อง  มอบหมายให้          รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 104/2557 ลงวันที่ 16 กันยายน 2557 เรื่อง มอบหมาย      ให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน นั้น

                   อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 11  มาตรา 12  มาตรา 15  มาตรา 38  มาตรา 41  มาตรา 42  มาตรา 48  และมาตรา 49  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558   จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี               ที่ 104/2557 ลงวันที่ 16 กันยายน 2557  และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี  และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน  ดังต่อไปนี้

                   ส่วนที่ 1  คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

                   1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ตามลำดับ  ดังนี้

                         1.1    พลเอก ประวิตร            วงษ์สุวรรณ

                         1.2    พลเอก ธนะศักดิ์            ปฏิมาประกร

                         1.3    พลเรือเอก ณรงค์           พิพัฒนาศัย

                         1.4    พลอากาศเอก ประจิน      จั่นตอง

                         1.5    นายสมคิด                   จาตุศรีพิทักษ์

                         1.6    นายวิษณุ                    เครืองาม

                                2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น  จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน

                   ส่วนที่ 2  นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

                   ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้

 

 

ลำดับที่

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ

    1.

 พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ

1.  นายวิษณุ  เครืองาม

2.  พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร

    2.

  พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร

1.  พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย

 

 

2.  พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง

3.

  พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย

1.  พลเอก ธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร

 

 

2.  นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์

    4.

  พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง

1.  นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์

 

 

2.  พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ

5.

  นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์

1.  พลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง

 

 

2.  นายวิษณุ  เครืองาม

6.

  นายวิษณุ  เครืองาม

1.  พลเอก ประวิตร  วงษ์สุวรรณ

 

 

2.  พลเรือเอก ณรงค์  พิพัฒนาศัย

 

                   ส่วนที่ 3  นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

                   ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้             
ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ  ดังนี้

 

ลำดับที่

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ

สำนักนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทน

ตามลำดับ

   1.

   หม่อมหลวงปนัดดา  ดิศกุล

  1.  นายสุวพันธุ์  ตันยุวรรธนะ

 

 

  2.  นายวิษณุ   เครืองาม

   2.

   นายสุวพันธุ์  ตันยุวรรธนะ

  1.  หม่อมหลวงปนัดดา  ดิศกุล

 

 

  2.  นายวิษณุ   เครืองาม

 

  สั่ง ณ วันที่ 25 สิงหาคม  พ.ศ.  2558

 

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 222 /2558 เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้

                    ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 216/2558 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2558   มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี นั้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10  มาตรา 11  มาตรา 12  มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534  และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.. 2545  และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกความในข้อ 1.5.7 ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 216/2558 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2558 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

                   1.5.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม”

 

                              สั่ง   ณ   วันที่   26    สิงหาคม  พ.ศ. 2558

 

21. เรื่อง ขอรับโอนข้าราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)                                                 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอรับโอน นายไมตรี อินทุสุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2558 เพื่อประโยชน์ของทางราชการ และ

ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 

 

                  

...............................................................

 


  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | วันที่ประกาศ :02/09/2558



© สงวนลิขสิทธิ์ 2567 ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
DSDW Information Center
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100