ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 31 มกราคม 2560

 http://www.thaigov.go.th

 

                   วันนี้ (31 มกราคม 2560) เวลา 09.00 . ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

?                    ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                พันเอกหญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี              ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้




กฎหมาย

 

                    1.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย                                         ภาษีเงินได้ (การแก้ไขเพิ่มเติมการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตร                                            ประเภทข้าว)

                   2.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

                    3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร                                           สำหรับมาตรฐานทั่วไป พ.ศ. ....

                    4.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)                                     พ.ศ. ....

                    5.        เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การ                                       ห้ามส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์ไปสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และการห้ามนำเข้า                                     อาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาจากหรือมีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน                                     พ.ศ. 2550

 




เศรษฐกิจ- สังคม

 

                    6.       เรื่อง     ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

                                        ปี 2560 และขออนุมัติใช้งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน

                                        หรือจำเป็น  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ                                      ป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือปี 2560

                    7.       เรื่อง     แผนงานเปลี่ยนระบบไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551 – 2556 (ฉบับ                                          ปรับปรุง) ของการไฟฟ้านครหลวง

                    8.       เรื่อง     การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน

                                        ยาเสพติด ประจำปี 2559

                    9.       เรื่อง     แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2561 – 2564) แผนปฏิบัติ                                           ราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และ                                          คำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

                    10.      เรื่อง     ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

                                        (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    11.      เรื่อง     แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 (CBT                                           Thailand) 

                    12.      เรื่อง     แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจภายใต้                                       กลไก Universal  Periodic Review  รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563)

                   13.      เรื่อง     การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย                                        ขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2559/2560

                    14.      เรื่อง     แผนการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2559/60

 




ต่างประเทศ

 

                    15.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่สำหรับการประชุม Navy to                                       Navy staff Talks ระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์                                             (Terms  of  Reference  for Navy to Navy Staff Talks  between the                                          Royal Thai  Navy and the Republic of Singapore Navy) 

                    16.      เรื่อง     ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงระหว่าง                                        กรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง                                      กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์  และชลประทานแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

                    17.      เรื่อง     ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) การเยือนสาธารณรัฐ                                         แห่งสหภาพเมียนมาอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)                                  ระหว่างวันที่ 2 - 3 กุมภาพันธ์ 2560

                    18.      เรื่อง     บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ                                      แห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยโครงการพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวาย      

                    19.      เรื่อง     แนวทางความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-เมียนมา                                        ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

         

         


แต่งตั้ง

 

                    20.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ   (กระทรวงคมนาคม)

                    21.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                             ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)

                    22.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงแรงงาน)

                    23.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                           (กระทรวงพาณิชย์)

                    24.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์                                            การเกษตร

                    25.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ

                    26.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

                    27.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

                    28.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

                                        (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

*******************

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 




กฎหมาย

 

1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ (การแก้ไขเพิ่มเติมการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตรประเภทข้าว)

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ (การแก้ไขเพิ่มเติมการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตรประเภทข้าว) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   2. มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับ           การกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินสำหรับการซื้อข้าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าวต่อไป

                   กค. เสนอว่า

                   1. มาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 และคำสั่งกรมสรรพากร ที่              ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 0.75 เฉพาะกรณีผู้ซื้อข้าวที่เป็นผู้ส่งออก ประกอบกับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2559 กำหนดให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ เป็นอัตราร้อยละ 20 เป็นการถาวร ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

                   2. โดยที่ระบบการค้าข้าวปัจจุบัน ประกอบด้วย กระบวนการผลิต การแปรรูป และการจำหน่ายโดยมีเกษตรกรเป็นหน่วยผลิตต้นน้ำ ผลิตในรูปของข้าวเปลือกแล้วขายให้โรงสี พ่อค้าข้าวเปลือก ตัวแทน/นายหน้า (หยง) และสถาบันเกษตรกรหรือสถาบันของรัฐบาล โดยข้าวเปลือกที่เกษตรกรขาย โรงสีจะทำการแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อส่งออกเองโดยตรง ขายให้หยง โดยหยงจะขายต่อให้กับผู้ส่งออก และขายให้ผู้ค้าส่ง โดยผู้ค้าส่งจะบรรจุเป็นข้าวถุงขายให้ผู้ค้าปลีก ระบบการค้าข้าวมีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในหลายขั้นตอน แต่ข้อกฎหมายกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลผู้ซื้อข้าวที่เป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้กับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้ขายเท่านั้น ส่งผลให้ข้อมูลการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากผู้ประกอบการค้าข้าวไม่ครบถ้วน ดังนั้น จึงเห็นควรปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตรประเภทข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและระบบของการค้าข้าวในปัจจุบันที่มีกระบวนการและมีผู้เกี่ยวข้องหลายขั้นตอน และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้ที่มีการปรับลดอัตราลง

                   3. การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายข้างต้น คาดว่าจะมีผลกระทบ ดังนี้

                             3.1 ช่วยลดภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของผู้ขายสินค้าเกษตรประเภทข้าวที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สูงกว่าภาระภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือเป็นร้อยละ 20

                             3.2 ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทำให้มีฐานข้อมูลในการบริหารจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการค้าข้าว ซึ่งจะช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                             3.3 อาจจะส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของรัฐบาลในการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แต่ในภาพรวมจะทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

 

 

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตร ดังนี้

                   1. การจ่ายค่าซื้อข้าว ร้อยละ 0.5

                   2. การจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ นอกจากข้อ 1. ร้อยละ 0.75

 

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                   1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดกรมประมงกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงตามประเภทกิจกรรมของท่าเทียบเรือประมงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตามมาตรา 98 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว และเร่งรัดการเสนอกฎหมายลำดับรองตามมาตรา 5 แห่ง  พระราชกำหนดดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และสามารถปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   กษ. เสนอว่า กฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้ท่าเทียบเรือที่จะจดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา 84 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมายตามมาตรา 98 โดยในวาระเริ่มแรกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2559 ใช้บังคับ (ใช้บังคับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ครบ 1 ปีวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560) ให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงยื่นหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้จดทะเบียน ส่งผลให้ท่าเทียบเรือประมงในประเทศที่ได้  จดทะเบียนไปแล้วนั้น ยังไม่มีมาตรฐานท่าเทียบเรือประมงอันเป็นที่ยอมรับตามหลักสากล ซึ่งกรมประมงจะได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงตามประเภทกิจกรรมของท่าเทียบเรือประมง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลต่อไป

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2559 ดังนี้ 

                   1. แก้ไขหลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือเป็นท่าเทียบเรือประมงโดยกำหนดให้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงเป็นไปตามประเภทกิจกรรมที่มีกฎหมายกำหนดให้มีมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงและจะต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานดังกล่าวมาในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง จากเดิมที่กำหนดให้ต้องยื่นหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้           จดทะเบียน

                   2. แก้ไขเงื่อนเวลาในการยื่นหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมง โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงตามกฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2559 ไว้แล้วก่อนร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จะต้องยื่นหนังสือรับรองมาตรฐาน              ด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงภายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

 

 

 

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไป พ.ศ. ....

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไป พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                   1. กำหนดค่าบริการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับสินค้าเกษตรประเภทสินค้าพืช ให้เป็นไปตามตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวง โดยการตรวจประเมินครั้งแรกหรือการตรวจประเมินใหม่ ค่าตรวจสอบและรับรองแต่ละมาตรฐานตามจำนวนผู้ตรวจประเมิน ทั้งนี้ ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อคนต่อวันสำหรับการตรวจติดตาม ค่าตรวจสอบและรับรองตามจำนวนผู้ตรวจประเมิน ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ตรวจประเมิน โดยขั้นต่ำให้ใช้ผู้ตรวจประเมิน 1 คนต่อครึ่งวัน

                   2. กำหนดค่าบริการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับสินค้าเกษตรประเภทปศุสัตว์ ประเภทประมง และประเภทอื่น ๆ ให้เป็นไปตามตารางที่ 2 ท้ายกฎกระทรวง โดยการตรวจประเมินครั้งแรกหรือการตรวจประเมินใหม่ ค่าตรวจสอบและรับรองแต่ละมาตรฐานตามจำนวน             ผู้ตรวจประเมิน ทั้งนี้ ไม่เกิน 15,000 บาทต่อคนต่อวัน สำหรับการตรวจติดตาม ค่าตรวจสอบและรับรองตามจำนวนผู้ตรวจประเมิน ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ตรวจประเมิน โดยขั้นต่ำให้ใช้ผู้ตรวจประเมิน 1 คนต่อครึ่งวัน

                   3. กำหนดให้ในกรณีที่สินค้าเกษตรที่ตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานทั่วไป ให้ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานออกใบรับรองสำหรับสินค้าเกษตรนั้น โดยให้กำหนดค่าใบรับรองที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลไม่เกิน 1,000 บาท

 

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี            นำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2556 เพื่อจัดตั้งสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนราชการในสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว

 

5.  เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์ไปสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และการห้ามนำเข้าอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาจากหรือมีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน พ.ศ. 2550

                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์ไปสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และการห้ามนำเข้าอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาจากหรือมีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน พ.ศ. 2550 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างประกาศฯ เป็นการกำหนดให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การห้ามส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์ไปสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และการห้ามนำเข้าอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาจากหรือ          มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน พ.ศ. 2550

 

 

 




เศรษฐกิจ- สังคม

 

6. เรื่อง  ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 และขออนุมัติใช้งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือปี 2560

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 

1.       เห็นชอบแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560 เพื่อกำหนดให้

เป็นนโยบายรัฐบาล และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป

2.       อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง  รายการเงินสำรองจ่าย

เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวม 154.3733  ล้านบาท  เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี 2560  โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สป.ทส.)   เป็นหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ขอทำความตกลงในรายละเอียดด้านงบประมาณตามขั้นตอนกับสำนักงบประมาณ (สงป.)  ในพื้นที่เป้าหมาย 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่  เชียงราย เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา  แม่ฮ่องสอน   และตาก สำหรับการดำเนินงานในปีถัดไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีโครงการ/กิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า  จัดทำแผนการดำเนินงานและรายละเอียดค่าใช้จ่าย และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2561 ภายใต้แผนงานบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประเด็นการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ มีกรอบแนวคิดที่เน้นกลไกประชารัฐและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ในการป้องกันก่อนเกิดเหตุ  ไม่ให้เกิดการเผาและการลุกลามของไฟจนยากที่จะควบคุม  เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยจะระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วน เครือข่ายอาสาสมัคร อุปกรณ์ เครื่องมือ ดำเนินการ            เฝ้าระวังและป้องกันการเผาและไฟป่าในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการให้ความรู้และเข้าถึงชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการลดการเผาตลอดช่วงวิกฤต  ปี 2560 พร้อมกันนี้ ในช่วงวิกฤตหมอกควันที่จังหวัดกำหนด  จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้ลักลอบเผา  โดยบูรณาการและสั่งการจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามระบบ             ศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ (Sungle  Command)  ซึ่งมีการกำหนด 11 มาตรการ  ดังนี้ 

                   มาตรการที่ 1 ใช้ระบบ Single Command  ในการบริหารจัดการ  มาตรการที่ 2 บูรณาการข้อมูลและแจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควัน  มาตรการที่ 3 จัดการเชื้อเพลิงและบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงเพื่อลดการเผา  มาตรการที่ 4 ห้ามเผาอย่างเด็ดขาดในช่วงวิกฤต  มาตรการที่ 5 ระดมสรรพกำลังลาดตระเวน  เฝ้าระวัง  และดับไฟ เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟและเกิดหมอกควันรุนแรง  มาตรการที่ 6  สนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกและลดการเผาเศษวัสดุภาคการเกษตร  มาตรการที่ 7 ส่งเสริมกลไกประชารัฐและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มาตรการที่ 8 สื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้เข้าถึงพื้นที่เสี่ยงและชุมชนเป้าหมาย มาตรการที่ 9 ลดฝุ่นละอองและบรรเทาผลกระทบต่อสุขภาพ  มาตรการที่ 10 ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การเป็นภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควัน  มาตรการที่ 11 มาตรการระยะยาวเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนืออย่างยั่งยืน

 

7. เรื่อง แผนงานเปลี่ยนระบบไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551 – 2556 (ฉบับปรับปรุง) ของการไฟฟ้านครหลวง

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินปี 2551 – 2556 (ฉบับปรับปรุง) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้การไฟฟ้านครหลวงเร่งรัดการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงานและกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด          โดยไม่ให้มีการขยายระยะเวลาและเพิ่มวงเงินลงทุนอีก รวมทั้งให้รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ด้วย

                                ทั้งนี้ ให้การไฟฟ้านครหลวงควบคุมต้นทุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่ออัตราค่าไฟโดยรวม และให้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามแผนงาน รวมทั้งบูรณาการการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรุงเทพมหานคร การประปานครหลวง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน รวมทั้ง               ลดผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและประชาชนผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ มท.กำกับดูแลการดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดตลอดจนให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการโครงการลงทุนให้เป็นไปตามแผนงานอย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนของน้ำหนักตัวชี้วัดในระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ในการวัดผลการดำเนินโครงการลงทุนตามแผนงานและระยะเวลาที่กำหนดด้วย

 

8. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2559

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2559 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ

                   สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ยธ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติรายงานว่า เรื่องการพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปี เป็นกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ              พ.ศ. 2546 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และครั้งนี้ ยธ. ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้บำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ประจำปี 2559 จำนวน 9,194 คน เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ทุ่มเทและเสียสละในการปฏิบัติงานทั่วประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบกรณีพิเศษ ประจำปีงบประมาณ 2559 ประกอบด้วย

                    1. หลักการพิจารณาจำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับความดีความชอบกรณีพิเศษ ดังนี้

                             1) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรงหรือมีคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด จากการสำรวจข้อมูลกำลังพลในปีงบประมาณ 2559 มีจำนวน 301,276 คน โดยมีข้อเสนอให้พิจารณาจำนวนที่ได้รับความดีความชอบพิเศษในอัตราไม่เกินร้อยละ 2.5 คิดเป็นจำนวนกำลังพลที่จะได้รับความดีความชอบพิเศษ จำนวน 7,532 อัตรา

                              2) เจ้าหน้าที่ที่ไม่มีภารกิจงานด้านยาเสพติดโดยตรงแต่ลักษณะงานมีภารกิจที่เกื้อกูลให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ หรือไม่มีรายชื่อในระบบทะเบียนกำลังพลจากการสำรวจข้อมูลกำลังพลในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 332,328 คน โดยมีข้อเสนอให้พิจารณาจำนวนที่ได้รับความดีความชอบพิเศษในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 หรือคิดเป็นจำนวนกำลังพลที่จะได้รับความดีความชอบพิเศษ จำนวน 1,662 อัตรา

                        เมื่อรวมทั้ง 2 ประเภทแล้ว เป็นจำนวนผู้ได้รับบำเหน็จความดีความชอบพิเศษฯ ทั้งสิ้น จำนวน 9,194 อัตรา

                   2. การดำเนินการเลื่อนเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้สมควรได้รับบำเหน็จความดีความชอบกรณีพิเศษให้แบ่งเป็น 2 ประเภท

                                        1) ข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษนอกเหนือจากโควตาปกติของข้าราชการ            พลเรือนสามัญใหม่โดยกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากการเลื่อนเงินเดือนกรณีปกติ           อีกร้อยละ 1 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเงินในแต่ละครึ่งปี ทั้งนี้ เมื่อรวมการเลื่อนเงินเดือนปกติกับการเลื่อนเงินเดือนกรณีพิเศษแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ

                                        2) ข้าราชการตำรวจ ทหาร หรือข้าราชการที่ยังใช้ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบขั้นเงินเดือน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเดิมคือเมื่อรวมกันขั้นปกติกับขั้นกรณีพิเศษแล้วต้องได้ 2 ขั้น สำหรับกรณีผู้ที่เงินเดือนเต็มขั้นให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนด

 

9. เรื่อง แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2561 – 2564) แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เสนอ ดังนี้

                    1. เห็นชอบกับแผนพัฒนาจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2561 – 2564)

                   2. เห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด 76 จังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 76 จังหวัด 18 กลุ่มจังหวัดประจำงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามมติคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2560

                    สาระสำคัญของแผนพัฒนาจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด โดยภาพรวมของแผนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี วิสัยทัศน์ของประเทศ นโยบายของรัฐบาล ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รวมถึงแผนพัฒนาเฉพาะด้านต่าง ๆ และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความสอดคล้องกับศักยภาพโอกาส สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่

                     สำหรับแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด 76 จังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย

                    1) โครงการของกระทรวง กรม ตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 6,841 โครงงาน กระทรวงมหาดไทยและจังหวัด/กลุ่มจังหวัดได้แจ้งแผนงาน/โครงการและคำของบประมาณที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงานประสานแผนส่วนกลางและจังหวัด/กลุ่มจังหวัดไปยังกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้องแล้ว เพื่อให้กระทรวง กรมสามารถนำไปพิจารณากลั่นกรองตามขอบเขตภารกิจ เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงาน และเสนอเป็นคำของบประมาณเบื้องต้นได้ทันภายใต้กรอบเวลาการจัดทำงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ต่อไป

                    2) โครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชนตามที่ปรากฏในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มอบหมายให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อไป

 

10.  เรื่อง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

                    1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2534 (เรื่อง ขออนุมัติเงินแทรกแซงตลาดกาแฟฤดูกาลผลิตปี 2533/34 ) จาก มอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เป็น ให้กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

                    2. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ

                    1. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติการใช้เงินกองทุนฯ กำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ ตลอดจนการกำหนดค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการต่าง ๆ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการใช้จ่ายหรือการขอรับจัดสรรเงินกองทุน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ คชก. เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหาร                         ทุนหมุนเวียนฯ

                    2. กำหนดให้คณะกรรมการ คชก. มีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายบริหารกองทุนฯ

                    3. กำหนดการจัดตั้งกองทุนฯ จากเดิมเป็นหน่วยงานภายในกรมบัญชีกลาง กค. ไปเป็นหน่วยงานภายในกรมการค้าภายใน พณ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการกำกับดูแลราคาสินค้าเกษตร

                    4. กำหนดให้ กค. กำกับการนำเงินกองทุนฯ ไปหาดอกผล

                    5. ตัดข้อความเกี่ยวกับการจ่ายเงินกองทุนฯ เพื่อการช่วยเหลือเกษตรกรในด้านสินเชื่อ และการดำเนินงานของกองทุนที่ดิน เนื่องจากไม่มีการจ่ายเงินลักษณะนี้แล้ว

                    6. กำหนดการจัดทำรายงานการรับ  จ่ายเงินกองทุน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มาตรา 4 (1)  (7)

 

11. เรื่อง แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 (CBT Thailand) 

                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 (CBT Thailand)   ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ  ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และเมื่อแผนยุทธศาสตร์ชาติประกาศใช้แล้ว  ให้ กก. พิจารณาปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

                   สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีความรู้   และเพิ่มทักษะความสามารถในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานของความพอเพียง รวมทั้งเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรการท่องเที่ยวทรัพยากรชุมชนอันจะทำให้เกิดการยกระดับความสำคัญของชุมชนในสังคม เพื่อเพิ่มจำนวนชุมชนที่มีการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีมาตรฐานคุณภาพภายใต้ขีดความสามารถของการรองรับของชุมชน และเพื่อเพิ่มจำนวนเครือข่ายและความเข้มแข็งของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

                   ทั้งนี้  ยุทธศาสตร์การพัฒนา  ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ ยุทธศาสตร์ 1 การเสริมสร้างคุณภาพ ทักษะ และความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว  โดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้    ยุทธศาสตร์ที่ 2  การส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์ เอกลักษณ์  และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ   ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขอย่างเท่าเทียมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว  ยุทธศาสตร์ที่ 4  การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทำงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคงและยั่งยืน  ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน

 

 

 

12.  เรื่อง แผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal  Periodic Review  รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR  รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563)  ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ   และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปฏิบัติตามแผนดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป 

                   ร่างแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับและให้คำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR  รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559-2563) เกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ  ดังนี้  1. การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน  2. การปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ   3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกและแผนสิทธิมนุษยชน  4. การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึกอบรม   5. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 6. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของกลุ่มต่าง ๆ  ในสังคม                7. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 8. กระบวนการยุติธรรม 9. การอำนวยความยุติธรรม 10. ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ   11.  การติดตามผลของกระบวนการ UPR 

                   ทั้งนี้  กต. จะจัดพิมพ์แผนการปฏิบัติฯ  เพื่อเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม  ตลอดจนภาคส่วนอื่น ๆ  ที่สนใจ นอกจากนี้ กต. จะร่วมกับ ยธ. จัดเวทีเผยแพร่การนำเสนอรายงานตามกลไก  UPR  รอบที่ 2 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสิทธิมนุษยชนและกระบวนการ UPR ให้แก่สาธารณชนในทุกภูมิภาคต่อไป

 

13. เรื่อง การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2559/2560

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น  ฤดูการผลิตปี 2559/2560 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ เป็น 2 ราคา ดังนี้

  1.  2559/2560 ในเขตคำนวณราคาอ้อยที่ 1,2,3,4,6,7,

และ 9 ในอัตรา 1,050 บาทต่อตันอ้อย  ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 63.00 บาทต่อ 1 หน่วย  ซี.ซี.เอส.ต่อเมตริกตัน  และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น  ฤดูการผลิตปี 2559/2560 เท่ากับ 450 บาทต่อตันอ้อย

  1. กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2559/2560 ในเขตคำนวณราคาอ้อยที่ 5 ในอัตรา 980

บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น / ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 58.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.ต่อเมตริกตัน และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น  ฤดูการผลิตปี 2559/2560 เท่ากับ 420 บาทต่อตันอ้อย

ทั้งนี้   ให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกาศราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทน

การผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นในราชกิจจานุเบกษาต่อไปด้วย

                   สาระสำคัญของเรื่อง

                   อก.รายงานว่า

                   การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2559/2560 ได้นำนโยบายเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมากำหนดราคาอ้อยขั้นต้น เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับเงินค่าอ้อยที่เป็นธรรมและสูงสุดในทุกเขตคำนวณราคาอ้อยและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการส่งอ้อยเข้าหีบ  ทั้งนี้  เพื่อเป็นการกระจายเม็ดเงินหมุนเวียนไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ  โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่กฎหมายกำหนด  รวมทั้งราคาอ้อยที่ประกาศนี้จะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เป็นภาระต่อกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายในอนาคต

 

 

14. เรื่อง แผนการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2559/60

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้

ปี 2559/60 และแผนการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2559/60 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

                   สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการตามแผนฯ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์) รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

                   สาระสำคัญของกรอบแนวทางและแผนการช่วยเหลือฯ มีดังนี้

                   1. กรอบแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2559/60

                   เป้าหมาย เพื่อปรับสภาพพื้นที่การเกษตรและการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร

ที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติ หรือพัฒนาให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม

                   พื้นที่เป้าหมาย จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                   กรอบแนวทางการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

                             1. ระยะแรก (ช่วงเดือนมกราคม 2560) การหยุดยั้งความเสียหาย มุ่งเน้นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในระยะเร่งด่วนเพื่อหยุดหรือลดความเสียหายให้มากที่สุด

                             2. ระยะต่อไป (ช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2560) การเสริมสร้างฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพพื้นที่และอาชีพ ให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยให้กลับสู่ภาวะปกติ

                             3. ระยะยาว (ช่วงปี 2560 เป็นต้นไป) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัย และพัฒนาให้ดีกว่าเดิมและปลอดภัยกว่าเดิม

 

                   2. แผนการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2559/60

                   เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ในช่วงหลังน้ำลดและฟื้นฟูสภาพพื้นที่การเกษตรและอาชีพเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยให้กลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว ประกอบด้วย

                             1. มาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ปี 2559/60 แบ่งเป็น

                                      (1) การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ                 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2559

                                      (2) การช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย                ปี 2559/60 กรณีได้รับผลกระทบ (ครัวเรือนละ 3,000 บาท) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559

                                      (3) การช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 เพื่อช่วยเหลือต้นยางพาราเปิดกรีดที่เสียหายจากอุทกภัย ให้ขอทุนปลูกแทน (อัตราไร่ละ 16,000 บาท)

                             2. มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ปี 2559/60 ประกอบด้วย           6 มาตรการ 12 โครงการ ดังนี้

                   1) มาตรการฟื้นฟูซ่อมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 4 โครงการ 2) มาตรการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 1 โครงการ  3) มาตรการฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตร จำนวน 2 โครงการ 4) มาตรการฟื้นฟูอาชีพด้านปศุสัตว์ จำนวน 2 โครงการ 5)มาตรการฟื้นฟูอาชีพด้านประมง จำนวน 1 โครงการ และ 6) มาตรการฟื้นฟูรายได้และหนี้สินเกษตรกร จำนวน 2 โครงการ

                                     

 




ต่างประเทศ

 

15. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่สำหรับการประชุม Navy to Navy staff Talks ระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์  (Terms  of  Reference  for Navy to Navy Staff Talks  between the Royal Thai  Navy and the Republic of Singapore Navy) 

                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เสนอดังนี้

1.       ให้กระทรวงกลาโหม (กห.)  จัดทำขอบเขตอำนาจหน้าที่สำหรับการประชุม Navy to Navy

Staff  Talks  ระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์

2.       ให้ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย

3.       หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างขอบเขต อำนาจหน้าที่ฯ โดยไม่

ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ฯ ให้ กห.  พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม

                   สาระสำคัญของร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่สำหรับการประชุม Navy to Navy staff talks  มี

                   วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. กองทัพเรือ (ทร.) ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงใจที่จะจัดประชุม Navy to Navy Staff Talks เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างกัน  และ 2. การประชุม Navy to Navy Staff  Talks เป็นการประชุมตามห้วงเวลา ระหว่าง ทร. ทั้งสองฝ่าย เพื่อหารือในด้านต่าง  ๆ ตามที่ระบุไว้ในขอบเขตความร่วมมือ 

                   ขอบเขตความร่วมมือ มีดังนี้  1. การทบทวนสิ่งที่ต้องปฏิบัติที่ผ่านมา 2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมทางทะเล  3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อการพัฒนาขีดความสามารถและการปฏิบัติงานร่วมกัน  4. ประเด็นต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเล  5. การแลกเปลี่ยนกำลังพล   6. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรอง  7. งานด้านยุทธการ การฝึกและอบรม  8. การส่งกำลังบำรุง  9. หัวข้ออื่น ๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน 

 

16.  เรื่อง  ขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงระหว่างกรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง  กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์  และชลประทานแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบ (ร่าง) บันทึกความเข้าใจระหว่างกรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่ง

ราชอาณาจักรไทยและกรมประมง  กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์  และชลประทานแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยความร่วมมือด้านประมง

  1. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ลงนามใน

บันทึกความเข้าใจฯ โดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)   

  1. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่

ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ  ให้ กษ. ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย

                    สาระสำคัญของ ร่าง MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงระหว่างกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกรมประมง กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  มีดังนี้

  1. เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การค้า การฝึกอบรม ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และความร่วมมือทางเทคนิค  รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายในสาขาประมงระหว่างกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติต่อความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ  ที่อาจจะมีการพิจารณาในอนาคต

  1. IUU และการค้าสินค้า

ประมงที่ผิดกฎหมาย  การดำเนินการตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า การปรับปรุงในเรื่องการประสานงานความร่วมมือประมงและการจัดการประมงบริเวณรอยต่อทางทะเล  การส่งเสริมการค้าสินค้าประมง  การปรับปรุงการประสานงานการวิจัยด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างองค์กรระดับประเทศและองค์กรระดับภูมิภาคที่มีความเกี่ยวข้อง และสาขาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ  ที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจและเห็นชอบร่วมกัน

  1. จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติ

ของ MOU  ฉบับนี้ โดยมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้าของคณะทำงานร่วมของแต่ละฝ่าย

  1. เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการประมงและการค้าสินค้าสัตว์

น้ำ  ความช่วยเหลือด้านวิชาการ การทำการวิจัยประมงร่วมที่รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ การพัฒนาการตลาด และการส่งเสริมธุรกิจประมงและความสัมพันธ์ทางการค้า เป็นต้น

  1. คู่ภาคีจะสนับสนุนการริเริ่มกิจกรรมประมงร่วมผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้อง (จาก

การประสาน กษ. ได้รับการยืนยันว่าการดำเนินกิจกรรมร่วมจะอยู่ภายใต้ขอบเขตความร่วมมือ ตามข้อ 2 เท่านั้น) โดยมีรายะเอียดต่าง ๆ  ได้แก่ วัตถุประสงค์และระยะเวลาของข้อเสนอโครงการ การระบุลักษณะที่ชัดเจนของงานวิจัย  โครงการและกิจกรรมบุคลากรที่รับผิดชอบ งบประมาณและการจัดทำรายงานผล

 

17. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) การเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ระหว่างวันที่ 2 - 3 กุมภาพันธ์ 2560

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชน (Joint Press Statement) ของการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอย่างเป็นทางการของรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ระหว่างวันที่ 2 - 3 กุมภาพันธ์ 2560 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน นอกเหนือจากที่ปรากฏในร่างแถลงการณ์ดังกล่าว โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กต.  ดำเนินการได้โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

                    ร่างแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนดังกล่าว มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะเร่งรัด พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์ โดยมีประเด็นสำคัญที่จะมีการหยิบยกขึ้นระหว่างการเยือนฯ ดังนี้

                   1. การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมและยกระดับความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน รวมถึงร่วมกันดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ

                   2. ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ โดยประสงค์จะจัดตั้งกลไกทวิภาคีใหม่ ๆ รวมถึงเร่งรัดการดำเนินกลไกร่วมที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

                   3. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ การบรรลุเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าทางการค้า การอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนบริเวณชายแดน การส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน การธนาคาร และด้านตลาดทุน

 

18. เรื่อง บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยโครงการพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวาย    

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยโครงการพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวาย (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of the Union of Myanmar Regarding the Development of Emergency Department at Dewei General Hospital) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้ กต. ดำเนินการได้โดยมิต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

                   2. อนุมัติให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กต. ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

                   3. มอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กต. หรือผู้แทนสำหรับการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ข้างต้น

                    สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ เป็นเอกสารที่กำหนดกรอบและความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมา เพื่อร่วมกันพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวายให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยมีคณะกรรมการกำกับโครงการ เพื่อให้คำแนะนำและติดตามการดำเนินงานโครงการฯ ภายใต้ 3 แผนงาน ได้แก่ 1) การก่อสร้างอาคารผู้ป่วยฉุกเฉินและอาคารที่เกี่ยวข้องอื่น  2) การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลทวาย 3) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นและการศึกษาดูงานให้แก่บุคลากรของโรงพยาบาลทวายและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง

 

19. เรื่อง แนวทางความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-เมียนมา ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

                   1. เห็นชอบในหลักการการให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาในการปรับปรุงเส้นทางเอ็นดุ-ท่าตอน ในเมียนมา โดยมีกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานดำเนินการและให้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณในการพิจารณารูปแบบการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวต่อไป

                   2. เห็นชอบในหลักการเร่งรัดผลักดันเมียนมาให้มีการเจรจาเพื่อจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจในการริเริ่มใช้ความตกลง CBTA (Initial Implementation of the Cross-Border Transport Agreement: IICBTA)             ณ จุดผ่านแดนแม่สอด-เมียวดี กับฝ่ายไทยเพื่อให้ได้ข้อยุติภายในระยะเวลา 2 เดือน

                    สาระสำคัญของการให้ความร่วมมือแก่เมียนมาในการปรับปรุงเส้นทางสายเอ็นดุ-ท่าตอน ขณะนี้เมียนมาอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงเส้นทางทางถนนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC) ในเมียนมาเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศและในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยในส่วนของเส้นทางที่จะต่อเชื่อมจากกอกะเร็ก-เอ็นดุ-พะอัน-ท่าตอน-พะยายี-ย่างกุ้ง นั้น เมียนมาอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงเส้นทางโดยแบ่งเป็นช่วง ดังนี้ ช่วงกอกะเร็ก-เอ็นดุ ระยะทาง 67 กิโลเมตร กำหนดแล้วเสร็จในปี 2562 ในส่วนของเส้นทางช่วงเอ็นดุ-ท่าตอน ระยะทาง 60 กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางแบบบาง ผิวทางกว้างประมาณ 6 เมตร ไม่มีไหล่ทาง ผ่านภูมิประเทศแบบที่ราบสลับเนินเขา ปัจจุบันมีสภาพชำรุดเป็นบางช่วง และยังเป็นคอขวดที่ต้องการการปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐานทางหลวงอาเซียน และหากรัฐบาลไทยพิจารณาให้ความช่วยเหลือเมียนมาในการปรับปรุงเส้นทางในช่วงนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ให้มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์และได้มาตรฐาน จะเป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่งระหว่างไทย-เมียนมา ลดต้นทุนการขนส่งและรองรับการขนส่งข้ามพรมแดนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Cross-border Transport Agreement: GMS CBTA) ซึ่งจะมีการเปิดเดินรถเต็มรูปแบบระหว่างประเทศสมาชิกในปี 2562

                   ทั้งนี้ การเร่งรัดผลักดันเมียนมาให้มีการเจรจาเพื่อจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ IICBTA เนื่องจากการขนส่งระหว่างไทย-เมียนมา จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีกฎระเบียบรองรับซึ่งปัจจุบันไทยและเมียนมายังไม่มีความตกลงด้านการขนส่งทางถนนระหว่างกันจึงทำให้ประเทศไทยไม่สามารถรับรถที่จดทะเบียนในเมียนมาเข้ามาเพื่อทำการขนส่งในประเทศไทยได้ เนื่องจากจะเป็นการขัดต่อมาตรา 26 และมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังนั้น จึงเห็นควรเร่งรัดการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ IICBTA ณ จุดผ่านแดนแม่สอด-เมียวดี เพื่อรองรับการขนส่งระหว่างประเทศไทย-เมียนมา ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อไป

         

         


แต่งตั้ง

 

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (กระทรวงคมนาคม)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายวิทยา ยาม่วง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 กรมเจ้าท่า ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ (นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายนรภัทร ปลอดทอง                รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัด              แบบบูรณาการ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย                    ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณา                  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ                  สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้

                   1. นายวรานนท์  ปิติวรรณ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                อธิบดีกรมการจัดหางาน

                   2. นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง                       สำนักงานปลัดกระทรวง

                   3. นายบุญเลิศ ธีระตระกูล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง              รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนและทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

 

 

 

 

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ              รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

 

24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (คณะกรรมการ ธ.ก.ส.) แทน             นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่         วันที่ 31 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

 

25. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ เนื่องจาก นายพิชิต อัคราทิตย์  ประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2559 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

 

26. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี                   (นายออมสิน ชีวะพฤกษ์) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในกรณี              ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

 

27. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้               1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม             3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 3 ราย ดังนี้

                   1. นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                   2. นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์  ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                   3. นางสาวชนิตา อึ๊งผาสุข ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

 

 

.......................

 



  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | วันที่ประกาศ :01/02/2560



© สงวนลิขสิทธิ์ 2567 ศุนย์ข้อมูลข่าวสาร
DSDW Information Center
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เลขที่ 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100